สำนักราชบัณฑิตยสภา
วัลลภ สุระก� ำพลธร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ 175 รูปที่ ๒ แสดงถึงการประยุกต์เบื้องต้นของวงจร CCII โดยใน ๔ วงจรแรกนั้นเป็นการน� ำเอาวงจร CCII ไปประยุกต์สร้างเป็น แหล่งก� ำเนิดตาม (dependent source) ที่ขึ้นอยู่กับหลักการของโครงข่ายวงจร แอกทีฟ (active network) มีได้อยู่ ๔ รูปแบบด้วยกัน [๑๒] คือ รูป ๒ (ก) แหล่งก� ำเนิดแรงดันไฟฟ้าควบคุม ด้วยแรงดันไฟฟ้า (voltage controlled voltage source หรือ VCVS) รูป ๒ (ข) แหล่งก� ำเนิดกระแสไฟฟ้า ควบคุมด้วยแรงดันไฟฟ้า (voltage controlled current source หรือ VCCS ) รูป ๒ (ค) แหล่งก� ำเนิดกระแส ไฟฟ้าควบคุมด้วยกระแสไฟฟ้า ( current controlled voltage source หรือ CCCS ) และ รูป ๒ (ง) แหล่ง ก� ำเนิดแรงดันไฟฟ้าควบคุมด้วยกระแสไฟฟ้า ( current controlled voltage source หรือ CCVS ) วงจร ตามรูป ๒ (จ) และ รูป ๒ (ฉ) แสดงการน� ำ CCII ไปต่อเป็นวงจรขยายสัญญาณแรงดันไฟฟ้า ( voltage amplifier ) และ วงจรขยายสัญญาณกระแสไฟฟ้า ( current amplifier ) ตามล� ำดับ ส่วนอีก ๒ วงจรที่เหลือ เป็นการน� ำ CCII ไปต่อเป็นวงจรค� ำนวณฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ โดยวงจรรูปที่ ๒ (ช) และรูป ๒ (ซ) เป็น วงจรดิฟเฟอเรนทิเอเตอร์กระแส ( current differentiator ) และวงจรอินทิเกรเตอร์กระแส ( current integrator ) ตามล� ำดับ การประยุกต์อื่น ๆ ผู้อ่านสามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้จากเอกสารอ้างอิง [๑] (ง) แหล่งก� ำเนิด CCVS (จ) วงจรขยายสัญญาณแรงดัน (ฉ) วงจรขยายสัญญาณกระแส (ช) อินทิเกรเตอร์กระแส (ซ) ดิฟเฟอเรนชิเอเตอร์แรงดัน รูปที่ ๒ แสดงตัวอย่างการประยุกต์เป็นวงจรแหล่งก� ำเนิดและวงจรค� ำนวณเบื้องต้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=