สำนักราชบัณฑิตยสภา

ยง ภู่วรวรรณ และคณะ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ 153 น� ำตัวอย่างทั้งหมดมาตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาสิ่งบ่งชี้การติดเชื้อของไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg) และสารพันธุกรรมของไวรัส (HBV DNA) ผลจากการศึกษาพบว่า มีผู้เป็นพาหะของโรคไวรัส ตับอักเสบบีในกลุ่มแรงงานต่างด้าวจากประเทศกัมพูชา ร้อยละ ๑๐.๘ จากประเทศลาว ร้อยละ ๖.๙ และ จากประเทศพม่า ร้อยละ ๙.๗ ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับไทยที่มีผู้เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบีอยู่ที่ร้อยละ ๓.๙ (รูปที่ ๑) ข้อมูลการศึกษาดังกล่าวที่ศึกษาในแรงงานต่างด้าวเหล่านี้จึงสะท้อนให้เห็นว่า ปัจจุบัน ประเทศต้นทางของแรงงานเหล่านี้ยังคงมีอุบัติการณ์ของโรคไวรัสตับอักเสบบีในอัตราที่สูง รูปที่ ๑ จ� ำแนกร้อยละการให้ผลบวกต่อสิ่งบ่งชี้การติดเชื้อของไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg) และ สารพันธุกรรมของไวรัส (HBV DNA) ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวเชื้อชาติต่าง ๆ เทียบกับไทย การศึกษาสายพันธุ์ของไวรัสตับอักเสบบีในแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ๕ เมื่อศึกษาในเชิงลึกเพื่อหาสายพันธุ์ของไวรัสตับอักเสบบีที่พบในแรงงานต่างด้าวเหล่านี้ก็พบว่า สายพันธุ์ที่โดดเด่นในประชากรแรงงานต่างด้าวทั้ง ๓ ประเทศ คือ สายพันธุ์ C โดยที่แรงงานต่างด้าวจาก ประเทศลาว พบสายพันธุ์ C ร้อยละ ๗๑ กัมพูชา ร้อยละ ๘๕ และพม่า ร้อยละ ๙๙ ส� ำหรับสายพันธุ์ที่พบ รองลงมาคือ สายพันธุ์ B ซึ่งในแรงงานต่างด้าวจากประเทศลาว พบสายพันธุ์ B ร้อยละ ๑๒ กัมพูชา ร้อยละ ๒๗ และพม่า ร้อยละ ๑ ในขณะที่ประชากรชาวไทยพบสายพันธุ์ C และ B ร้อยละ ๘๗ และ ๑๒ ตาม ล� ำดับ สายพันธุ์ของไวรัสในประเทศไทย ลาว กัมพูชา และพม่าไม่แตกต่างกันมากนัก (รูปที่ ๒)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=