สำนักราชบัณฑิตยสภา
ไวรั สตั บอั กเสบในแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 1 Jan.-Mar. 2012 152 จ� ำลองรหัสสารพันธุกรรมตั้งต้น (RNA) ที่ใช้ในการสร้างโปรตีนและสารพันธุกรรมตั้งต้นทั้งหมด (prege- nomic RNA) ของไวรัสตัวใหม่ เมื่อจ� ำลองเสร็จแล้วสารพันธุกรรมตั้งต้นทั้งหมดจะถูกส่งออกมาถอดรหัส ภายนอกนิวเคลียสเพื่อสร้างเป็นโปรตีน จากนั้นจะมีการประกอบตัวไวรัสแล้วไวรัสตัวใหม่จะถูกปล่อยออก จากเซลล์ อุบัติการณ์การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ประมาณกันว่า ทั่วโลกมีผู้เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบีมากถึง ๓๕๐ ล้านคน โดยเฉพาะแถบ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการส� ำรวจในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน พบความชุกของผู้ที่เป็น พาหะร้อยละ ๓ ถึงร้อยละ ๖ และพบผู้ที่เป็นพาหะมากขึ้นร้อยละ ๖ ถึงร้อยละ ๑๒ ในกลุ่มประเทศ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ๕ ส� ำหรับประเทศไทยภายหลังจากบรรจุวัคซีน ป้องกันไวรัสตับอักเสบบีเข้าไปในโปรแกรมวัคซีนแห่งชาติ ความชุกของผู้ติดเชื้อภายในประเทศลดลงเป็น อย่างมาก จนเหลือเพียงร้อยละ ๔๖ แต่เนื่องจากในปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวอพยพเข้ามาท� ำงานในไทยเป็นจ� ำนวนมาก จึงได้มีการ ศึกษาความชุกของผู้ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบีในแรงงานเหล่านี้เป็นครั้งแรก การศึกษาความชุกของไวรัสตับอักเสบบีในแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ๕ การศึกษาเริ่มจากการเก็บตัวอย่างน�้ ำเหลืองของแรงงานต่างด้าวที่มาตรวจสุขภาพประจ� ำปีจ� ำนวน ๓,๐๐๙ ตัวอย่าง ในจ� ำนวนนี้แบ่งเป็นตัวอย่างจากแรงงานชาวกัมพูชา ๑,๑๑๙ ราย แรงงานชาวลาว ๗๘๗ ราย และแรงงานชาวพม่า ๑,๑๐๓ ราย (ตารางที่ ๑) รายละเอียด กัมพูชา ลาว พม่า รวม จ� ำนวน (คน : ร้อยละ) ๑,๑๑๙ ๗๘๗ ๑,๑๐๓ ๓,๐๐๙ HBsAg ให้ผลบวก ๑๒๑ : ๑๐.๘ ๕๔ : ๖.๙ ๑๐๗ : ๙.๗ ๒๘๒ : ๙.๔ HBV DNA ให้ผลบวก ๑๐๒ : ๘๔.๓ ๔๒ : ๗๗.๘ ๘๐ : ๗๔.๘ ๒๒๔ : ๗๙.๔ เพศ ชาย ๘๑ : ๗๙.๔ ๓๑ : ๗๓.๘ ๔๕ : ๕๗.๕ ๑๕๘ : ๗๐.๕ หญิง ๒๐ : ๑๙.๖ ๑๑ : ๒๖.๒ ๒๘ : ๓๕.๐ ๕๙ : ๒๖.๓ ไม่ระบุเพศ ๑ : ๑ ๐ : ๐ ๖ : ๗.๕ ๗ : ๓.๒ อายุ (ปี, อายุเฉลี่ย ± ค่าเบี่ยงเบน ๒๙.๒ ± ๘.๖ ๒๖.๒ ± ๗.๔ ๒๘.๓ ± ๖.๑ ๒๘.๓ ± ๗.๖ มาตรฐาน) ตารางที่ ๑ ข้อมูลพื้นฐานของแรงงานด่างด้าวที่ใช้ในการศึกษาความชุกของไวรัสตับอักเสบบี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=