สำนักราชบัณฑิตยสภา
ยง ภู่วรวรรณ และคณะ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ 151 ที่หลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการ เกิดภาวะตับอักเสบ จนถึงตับวายเฉียบพลัน โดยที่ผ่านมาได้เกิดการระบาด ในประเทศไทยเป็นระยะ การติดเชื้อในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มลดลงตามล� ำดับสามารถควบคุม ได้ ใน พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ศึกษาอัตราชุกของไวรัสตับอักเสบเอในแรงงานต่างด้าว ๑,๑๘๓ ราย จากประเทศ พม่า กัมพูชา และลาว เป็นจ� ำนวน ๓๙๔, ๓๙๔ และ ๓๙๕ รายตามล� ำดับ เป็นเพศชาย ๕๙๔ ราย เพศหญิง ๕๘๙ ราย อายุเฉลี่ย ๒๘.๑ ปี จากการศึกษาพบว่า อัตราการติดเชื้อสูงมาก จากร้อยละ ๘๕.๖ ในแรงงาน ชาวลาวจนถึงเกือบทั้งหมด (ร้อยละ ๑๐๐) ในแรงงานชาวกัมพูชาและพม่า ๒ ในประเทศไทยพบว่า อัตรา การติดเชื้อมีแนวโน้มลดลงตามล� ำดับ และอัตราการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอต�่ ำกว่าแรงงานต่างด้าวมาก โดยพบประมาณร้อยละ ๒๗ ของประชากรในประเทศและจะพบน้อยมากในประชากรเด็กและวัยรุ่น อีกทั้ง พบมากขึ้นในกลุ่มประชากรที่มีอายุมากขึ้น๓ แต่เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับกลุ่มประชากรไทยที่จังหวัดตาก บริเวณชายแดนพม่าพบว่า อัตราการติดเชื้อสูงถึงร้อยละ ๗๑ ๔ ข้อมูลที่การศึกษาที่ผ่านมาท� ำให้ควรตระหนัก ถึงมาตรการป้องกันไวรัสตับอักเสบเอในจังหวัดที่มีประชากรต่างด้าวอาศัยอยู่จ� ำนวนมากและบริเวณ ชายแดน เนื่องจากมีประชากรจ� ำนวนมากที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันและเสี่ยงที่จะติดเชื้อ และหากมีการระบาด อาจส่งผลท� ำให้เกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตขึ้น การป้องกันที่ส� ำคัญคือ การพัฒนาด้านสุขลักษณะในการรับ ประทานอาหารที่สุกสะอาด การขับถ่ายที่ถูกสุขลักษณะ และการพิจารณาให้วัคซีนในประชากรกลุ่มเสี่ยง ไวรัสตับอักเสบบี ลักษณะทั่วไป ไวรัสตับอักเสบบีถูกค้นพบโดย Dr.Baruch S. Blumberg ในต้นทศศตวรรษที่ ๑๙๕๐ โดยมีรูปร่าง ลักษณะของอนุภาคอยู่ ๓ ประเภท คือ แบบ Dane’s particle แบบ Filamentous และแบบ Sphere แต่ อนุภาคที่ก่อให้เกิดโรคได้ คือ แบบ Dane’s particle เท่านั้น เนื่องจากเป็นอนุภาคชนิดที่มีสารพันธุกรรม ของไวรัสอยู่ภายใน นอกจากมนุษย์แล้ว ไวรัสตับอักเสบบียังพบได้ในสัตว์ประเภทนก ได้แก่ เป็ด (duck) นกกระสา (heron) และนกเป็ดน�้ ำ (teal) กลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน�้ ำนม พบได้ในลิงไร้หาง (Ape) คือ ชะนี (gibbon, siamang) กอริลลา (gorilla) อุรังอุตัง (orangutan) และชิมแปนซี (chimpanzee) โดยที่สัตว์เหล่านี้มี ลักษณะใกล้เคียงกับมนุษย์เป็นอย่างมาก วงชีวิตของไวรัส ภายหลังจากการเข้าสู่ร่างกาย ไวรัสตับอักเสบบีจะจ� ำลองตัวเองโดยการเข้าไปเกาะติดกับเซลล์ ตับ (hepatocyte) แล้วเข้าสู่ภายในเซลล์ หลังจากนั้นจึงส่งสารพันธุกรรมของไวรัสเข้าไปในนิวเคลียสเพื่อ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=