สำนักราชบัณฑิตยสภา

ศศิ ธร ผู้กฤตยาคามี และคณะ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ 143 วัตถุประสงค์การรักษาเชื้อไวแวกซ์และเชื้อโอวาเลคือการก� ำจัดเชื้อระยะไร้เพศและเชื้อระยะ ซ่อนพักในตับ โดยทั่วไปเชื้อไวแวกซ์ไม่ดื้อยา ตอบสนองต่อยา chloroquine ได้ดี ปัจจุบันเริ่มมีรายงาน เชื้อไวแวกซ์ดื้อยา chloroquine ในระดับสูง พบในแหล่งมาลาเรียบนเกาะนิวกินีและเกาะสุมาตรา นอกจาก นี้มีรายงานการดื้อยาประปรายเพิ่มมากขึ้นจากพื้นที่อื่น ๆ ของแหล่งมาลาเรียในเอเชียและอเมริกา ๓,๔ ยา primaquine เป็นยาขนานเดียวที่ออกฤทธิ์ก� ำจัดเชื้อระยะซ่อนพักในตับได้ แต่มีผลข้างเคียงจากฤทธิ์ ต้านอนุมูลเสรีท� ำให้เม็ดเลือดแดงแตก โดยเฉพาะผู้มีภาวะพร่องเอนไซม์ Glucose 6 Phosphate Dehydro- genase (G6PD) ปัจจุบันสูตรการรักษาด้วยยา primaquine ของประเทศต่าง ๆ แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับ ความพร้อมของการตรวจวัดระดับ G6PD ตลอดจนความชุกและความรุนแรงของภาวะพร่อง G6PD ใน ท้องถิ่นนั้น ๆ แม้ว่าเชื้อไวแวกซ์จะตอบสนองต่อยาต้านมาลาเรียเกือบทุกชนิดได้ดี แต่เป็นที่พิสูจน์ทราบ แล้วว่า การเลือกรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพนอกจากเพิ่มอัตราการหายขาดแล้ว ยังมีผลลดอัตราการ ติดต่อของเชื้อไวแวกซ์ ๓, ๖, ๗ การรักษาโรคมาลาเรียไวแวกซ์ที่ถูกต้องเหมาะสมจึงมีความส� ำคัญ ส่งผลต่อ ความรุนแรงของการระบาดของโรคมาลาเรียในท้องถิ่นนั้น ๆ แนวทางการรักษาโรคติดเชื้อมาลาเรียไวแวกซ์ ( P. vivax ) จุดมุ่งหมายส� ำคัญในการรักษาโรคมาลาเรียทุกชนิดคือการก� ำจัดเชื้อก่อโรคระยะไร้เพศใน เม็ดเลือดแดง ส� ำหรับเชื้อไวแวกซ์ และเชื้อโอวาเล ต้องเพิ่มวัตถุประสงค์การรักษาคือการก� ำจัดเชื้อระยะ รูปที่ ๒ แผนที่ประเมินความชุกของโรคมาลาเรีย สีเหลืองแสดงท้องถิ่นมีการติดเชื้อไวแวกซ์ ( P. vivax ) มากกว่าร้อยละ ๙๐ สีเขียวแสดงท้องถิ่นมีการติดเชื้อฟัลซิพารัม ( P. falciparum ) มากกว่าร้อยละ ๙๐ และสีส้มท้องถิ่นแสดงเชื้อทั้ง ๒ ชนิดใกล้เคียงกัน (ปรับปรุงจาก Fachem et al, 2010 ) ๕

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=