สำนักราชบัณฑิตยสภา

โรคมาลาเรี ยชนิ ดไวแวกซ์ The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 1 Jan.-Mar. 2012 142 ประชากรโลกป่วยจากเชื้อฟัลซิพารัม ๑๕๐-๒๐๐ ล้านคน จากเชื้อไวแวกซ์ ๘๐-๑๓๐ ล้านคน ๑-๔ และส่วน ที่เหลือ ๒๐-๒๕ ล้านคนเกิดจากเชื้อมาลาริอี และเชื้อโอวาเล เชื้อฟัลซิพารัมพบมากทางทวีปแอฟริกา ในขณะที่เชื้อไวแวกซ์พบมากในทวีปอเมริกาใต้ และ ประเทศศรีลังกา ในเอเชียพบว่าอัตราส่วนของเชื้อมาลาเรียทั้ง ๒ ชนิดนี้พอ ๆ กัน และในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย มีแนวโน้มว่าอัตราส่วนของการติดเชื้อไวแวกซ์ต่อเชื้อฟัลซิพารัมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เชื้อไวแวกซ์ (รูปที่ ๑) ถูกค้นพบครั้งแรก โดย Grassi & Feletti ใน ค.ศ. ๑๘๙๒ หรือ ๑ ทศวรรษหลัง จากการค้นพบเชื้อมาลาเรียติดเชื้อในเซลล์เม็ดเลือดแดงโดย Laveran แพทย์ชาวฝรั่งเศส ปัจจุบันเชื้อ ไวแวกซ์ มีความชุกประมาณร้อยละ ๔๐ ของโรคมาลาเรียทั่วโลก การติดเชื้อไวแวกซ์ทั้งหมดพบมากใน ทวีปเอเชียประมาณร้อยละ ๗๕ พบในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ร้อยละ ๑๕-๒๐ ในแอฟริกาตะวันออก และแอฟริกาใต้ร้อยละ ๑๐ ในภาคตะวันตกและภาคกลางของทวีปแอฟริกาพบต�่ ำกว่าร้อยละ ๑ (รูปที่ ๒) ๕ การติดเชื้อไวแวกซ์เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่ค่อยมีภาวะแทรกซ้อน แต่มักมีปัญหาให้ป่วยกลับซ�้ ำ หรือมีอาการก� ำเริบจากเชื้อระยะซ่อนพักในตับ เมื่อเชื้อระยะสปอโรซอยต์ (sporozoite) ถูกปล่อยจากยุง เข้าสู่กระแสโลหิตสู่เซลล์ตับ ส่วนหนึ่งของสปอโรซอยต์จะเจริญแบ่งตัวเพื่อก่อโรคตามวงชีพปรกติของโรค มาลาเรียทุกชนิด แต่เชื้อสปอโรซอยต์ ของเชื้อไวแวกซ์ และเชื้อโอวาเล จะกลายเป็นระยะซ่อนพักเรียก ว่า hypnozoite หรือระยะพักมีชีวิตอยู่ในเซลล์ตับนานเป็นเดือนหรือเป็นปี เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่ง เชื้อระยะ ซ่อนพักในตับนี้จะเติบโต และท� ำให้เกิดโรคในคนเกิดขึ้นอีก เป็นสาเหตุให้ป่วยกลับซ�้ ำ (relapse) โดยที่ ไม่ได้รับเชื้อใหม่ ผลกระทบจากธรรมชาติของระยะซ่อนพักในตับ สู่การป่วยกลับซ�้ ำได้หลายครั้งจากเชื้อ ไวแวกซ์ มีผลเพิ่มอัตราการเจ็บป่วยจากโรคมาลาเรีย ปัจจุบันพบว่าในแหล่งที่มีการควบคุมโรคมาลาเรีย มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะท� ำให้อัตราการติดเชื้อไวแวกซ์เพิ่มขึ้นมากกว่าเชื้อฟัลซิพารัม ดังเริ่มปรากฏให้ เห็นในหลายประเทศในเอเชีย ๒,๕ รูปที่ ๑ เชื้อมาลาเรียชนิดไวแวกซ์ ( P. vivax ) (ซ้าย) และฟัลซิพารัม ( P. falciparum ) (ขวา)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=