สำนักราชบัณฑิตยสภา

สิ ริ วั ฒน์ วงษ์ศิ ริ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ 131 ๖. กลุ่มผีเสื้อ (Lopidoptera) แมลงผีเสื้อไหมเป็นพวกที่ได้รับความนิยมรับประทาน มากที่สุด ในระยะดักแด้ของผีเสื้อไหม ซึ่งเป็นผีเสื้อกลางคืน ชนิดหนึ่ง ลักษณะตัวสีครีม เมื่อกางปีกออกมีความยาวประมาณ ๒ นิ้ว ล� ำตัวอ้วน ตัวเต็มวัยไม่กินอาหาร มีอายุสั้นเพียง ๒-๓ วัน วางไข่ประมาณ ๓๐๐-๕๐๐ ฟอง และจะตายหลังจากวางไข่ ใช้เวลาประมาณ ๑๐ วัน ตัวหนอนจะฟักออกมา กินใบหม่อน เป็นอาหารจนหมดอายุ ๓๕-๔๐ วันก็จะเข้าดักแด้ โดยจะท� ำ รังไหมห่อหุ้มตัวรังไหม เมื่อน� ำไปต้มและสาวเส้นไหมออกแล้ว จะเหลือตัวดักแด้ที่สามารถรับประทานได้ โดยการน� ำไปนึ่ง คั่ว ทอด แกง หรือน� ำมาต� ำน�้ ำพริก นอกจากนั้นยังน� ำมาแปรรูปท� ำ ข้าวเกรียบไหมได้ด้วย มีรสชาติเทียบเคียงได้กับข้าวเกรียบกุ้ง และข้าวเกรียบปลา อร่อยมาก ๗. กลุ่มพวกด้วง (Coleoptera) แมลงในกลุ่มนี้เป็นแมลงปีกแข็งที่มีล� ำตัวเป็นมันรูปไข่ ได้แก่ ด้วงมะพร้าว และด้วง กินมูลสัตว์ ต่าง ๆ มีชื่อท้องถิ่นว่า แมงกุดจี่ ด้วงขี้ควาย ด้วงขี้คน มีหลายชนิดที่นิยมน� ำมารับประทาน ได้แก่  กุดจี่แดง มีส่วนหัว อกปล้องแรก และปีกสีด� ำปนส้มแดง ท้องสีด� ำ เพศผู้อกปล้องแรกมีเขา ๑ อัน ภาพตัวเต็มวัยด้วง ภาพ ตัวหนอนด้วง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=