สำนักราชบัณฑิตยสภา

สิ ริ วั ฒน์ วงษ์ศิ ริ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ 125 แมลงกินได้ ทางเลือกในภาวะเกิดภัยพิบัติ สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏร� ำไพพรรณี รัทนา ทาปา ส� ำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สิทธิพงษ์ วงศ์วิลาศ ศูนย์วิจัยบึงบอระเพ็ด โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล บทคัดย่อ แมลงเป็นสัตว์ที่มีบรรพบุรุษและมีวิวัฒนาการมายาวนานกว่า ๓๐๐ ล้านปี แมลงเป็น สัตว์ที่มีมากที่สุดในโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์มากกว่า ๑ ล้านชนิด ในจ� ำนวนนี้มีทั้งแมลงที่ให้คุณและ ให้โทษ พบว่ามีเพียง ๒,๐๐๐ ชนิด ที่เป็นศัตรูท� ำลายพืชผลทางการเกษตร และเข้ามารบกวนชีวิต ความเป็นอยู่ของมนุษย์ หรืออาจก่อโรคให้กับมนุษย์ได้ นอกจากนี้แมลงส่วนใหญ่เป็นแมลงที่มี ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม ทางการแพทย์ และที่ส� ำคัญแมลงยังเป็น อาหารของมนุษย์ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ในอดีต จากการศึกษาของนักวิจัยกลุ่มต่าง ๆ พบว่า มีแมลง มากกว่า ๕๐๐ ชนิด ที่เป็นอาหารมนุษย์ ซึ่งได้แก่ ประเทศในแถบทวีป เอเชีย ออสเตรเลีย แอฟริกา อเมริกา และยุโรป ส� ำหรับประเทศไทยพบว่าน� ำแมลงมากกว่า ๑๕๐ ชนิด น� ำมาเป็นอาหาร เช่น แมลงดานา ตั๊กแตน ดักแด้หนอนไหม หนอนรถด่วนหรือหนอนไม้ไผ่ทอดกรอบ ขณะที่ประชากรโลกพุ่งเข้าใกล้ ๗,๐๐๐ ล้านคน องค์การอาหารและเกษตรแห่ง สหประชาชาติ Food and Agriculture Organization (FAO) จึงได้วางแผนส่งเสริมแมลงให้เป็น อาหารส� ำหรับคนทั่วโลก ด้วยคุณสมบัติของแมลง มีช่วงชีวิตที่สั้น สามารถเพิ่มจ� ำนวนได้คราวละ มาก ๆ ท� ำให้แมลงปรับตัวและเพิ่มจ� ำนวนได้รวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น การเลี้ยงแมลงเพื่อน� ำมา เป็นอาหารจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาการขาดแคลนอาหารของมนุษย์ได้อย่างรวดเร็ว ในภาวะวิกฤต หรือประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งนี้แมลงกินได้ไม่เป็นเพียงอาหารที่ให้ความ อร่อยเท่านั้น จากการศึกษาของหน่วยงานต่าง ๆ พบว่า แมลงหลายชนิดมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน และแร่ธาตุ ซึ่งสามารถเป็นอาหารทดแทนให้มนุษย์ได้ เป็นอย่างดี ค� ำส� ำคัญ : แมลงกินได้, ผึ้ง, หนอนไหม, หนอนไม้ไผ่

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=