สำนักราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 1 Jan.-Mar. 2012 การใช้ 1-methylcyclopropene กั บผลิ ตผลพื ชสวนสดหลั งการเก็ บเกี่ ยว 120 ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการท� ำงานของสาร 1-MCP ๑. ความเข้มข้นที่เหมาะสม มีการศึกษาความเข้มข้น 1-MCP ที่เหมาะสมกับชนิดของผลิตผล เช่น ในเมล็ดถั่วใช้ ๑๐ ppm แต่ส� ำหรับดอกคาร์เนชันพบว่าใช้ความเข้มข้นเพียง ๐.๕ ppb นอกจากนี้พบ ว่าวัยของดอกบีโกเนียมีแนวโน้มลดลงเป็นเส้นตรงตามการเพิ่มความเข้มข้นของ 1-MCP ๒. ระยะเวลาในการรม ระยะเวลาในการรมเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับปัจจัยอื่น เช่น ความเข้มข้น ของสาร 1-MCP ที่ใช้ โดยจะมีผลต่อการยืดอายุการเก็บรักษาของผลิตผล ได้มีการศึกษาระยะเวลาที่ใช้ ขึ้นกับอุณหภูมิที่ใช้รมและพันธุ์ของผลิตผล เช่น แอปเปิลพันธุ์ ‘Cortland’ ต้องรมด้วย 1-MCP ที่ ๓ องศา เซลเซียส อย่างน้อย ๙ ชั่วโมง แต่ถ้ารมที่ ๑๓ หรือ ๒๓ องศาเซลเซียส ต้องใช้เวลาอย่างน้อย ๖ ชั่วโมง แต่ในพันธุ์ ‘Empire’ ซึ่งรมด้วย 1-MCP ที่ ๓ องศาเซลเซียส ใช้เวลาอย่างน้อย ๓ ชั่วโมง จะช่วยชะลอ การอ่อนนุ่มของผลแอปเปิลได้ ๓. อุณหภูมิที่ใช้ขณะรมและขณะเก็บรักษา อุณหภูมิที่ต�่ ำเกินไปขณะการรมจะท� ำให้การใช้ 1-MCP ไม่มีประสิทธิภาพ แต่อุณหภูมิที่ใช้รมขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและช่วงเวลารม 1-MCP ที่ใช้ด้วย ดังที่กล่าวมาแล้วในแอปเปิล นอกจากนี้ยังมีการทดลองในผลกีวีที่รมด้วย 1-MCP ความเข้มข้น ๑๐๐ ppb ที่อุณหภูมิห้อง นาน ๑๒ ชั่วโมง รม ๒ ครั้ง พบว่าจะช่วยลดการอ่อนนิ่มของผลได้ดีกว่าการรมครั้งเดียว แต่การรมที่อุณหภูมิต�่ ำ (< ๕ องศาเซลเซียส) เป็นเวลา ๒๔ ชั่วโมง ครั้งเดียว สามารถชะลอการอ่อนนุ่มได้ เช่นกัน ผลกล้วยที่รมด้วย 1-MCP ความเข้มข้น ๒๐๐ ppb ที่ ๒๐ องศาเซลเซียส จะช่วยชะลอความอ่อน นุ่มของเนื้อเยื่อ เพิ่มปริมาณของแข็งที่ละลายน�้ ำได้ แต่ถ้ารมที่อุณหภูมิสูงหรือต�่ ำกว่าจะช่วยชะลอได้น้อย กว่า นอกจากนี้อุณหภูมิที่ใช้เก็บรักษาก็มีผลต่อการชะลอการสุกได้เช่นกัน ผลแอปเปิลที่รมด้วย 1-MCP แล้วเก็บรักษาที่ ๔ องศาเซลเซียส จะช่วยชะลอการสุกได้ดีกว่าการเก็บรักษาที่ ๒๐ องศาเซลเซียส ๔. ระยะพัฒนาและการสุกของผลิตผล ระยะพัฒนาการเก็บขึ้นอยู่กับชนิดของผลิตผลด้วย ผลิตผลแต่ละชนิดจะตอบสนองต่อ 1-MCP แตกต่างกัน ผลกล้วยระยะเขียวแก่ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการหายใจ เพิ่มขึ้น จะตอบสนองต่อ 1-MCP ได้ดี หรือการชะลอการสุกของมะเขือเทศอย่างมีประสิทธิภาพต้องใช้ การรมก่อนที่จะสุกแดงเต็มที่ ๕. ระยะเวลาหลังการเก็บเกี่ยว โดยทั่วไปแล้วผลิตผลต้องรมด้วย 1-MCP เร็วที่สุดเพื่อช่วย ให้การใช้ 1-MCP เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับชนิดของผลิตผลด้วย มีการทดลองเกี่ยว กับวันเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมแก่การรมผลแอปเปิลพบว่า ยิ่งรมเร็วจะช่วยชะลอการอ่อนนุ่มของเนื้อเยื่อได้ดี ในแอพริคอตพันธุ์ ‘Canino’ และพลัมพันธุ์ ‘Royal Zee’ พบว่า การให้ 1-MCP หลังการเก็บรักษาจะให้ ผลดีกว่าการให้ก่อนการเก็บรักษา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=