สำนักราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ 115 สายชล เกตุษา รูปที่ ๑ โครงสร้างของสาร 1-MCP การใช้ 1-MCP กับผลิตผลพืชสวนสดในประเทศไทย จากสมบัติของ 1-MCP ในข้างต้นท� ำให้มีการใช้อย่างกว้างขว้างที่ระดับความเข้มข้นตั้งแต่ ๒๐๐- ๑,๐๐๐ ppb กับผลิตผลพืชสวนชนิดต่าง ๆ เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาซึ่งมีทั้งผลิตผลเขตร้อนและหนาว ในประเทศไทยนั้นผู้นิพนธ์ได้ทดลองใช้ 1-MCP กับผลิตผลพืชสวนที่ปลูกในประเทศไทย ผลการทดลอง พบว่ามีทั้งได้ผลและไม่ได้ผล ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของผลิตผลที่ตอบสนองต่อ 1-MCP ได้ผลดีและมีผู้น� ำ ผลการทดลองไปใช้ในเชิงพาณิชย์แล้ว กล้วยไม้ แม้ว่าดอกกล้วยไม้สร้างเอทิลีนระหว่างวัยดอกตูมจนกระทั่งดอกบานและร่วงโรย ในปริมาณต�่ ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับผลไม้ประเภท climacteric fruit ที่ก� ำลังสุก แต่ลักษณะการบรรจุ ดอกกล้วยไม้เพื่อส่งออก โดยห่อแต่ละก� ำด้วยถุงพลาสติกเปิดปลายและบรรจุอยู่ในกล่องกระดาษลูกฟูก แม้ว่ามีช่องระบายอากาศ แต่ปริมาณเอทิลีนที่ดอกกล้วยไม้สร้างและสะสมอยู่ในกล่องกระดาษลูกฟูก สามารถท� ำให้ดอกกล้วยไม้เกิดความเสียหายจากเอทิลีนได้ อาการความเสียหายเหล่านี้ ได้แก่ การร่วง ของดอกตูมดอกบาน การเหี่ยวของดอกบาน การเกิดการฉ�่ ำน�้ ำ การโค้งงอของก้านดอกย่อย (epinasty) ระหว่างการขนส่งไปตลาดต่างประเทศ อาการเหล่านี้จะปรากฏเมื่อมีการเปิดภาชนะบรรจุที่ตลาด ปลายทาง หรือระหว่างการน� ำไปใช้งานหรือปักแจกัน การให้ดอกกล้วยไม้ได้รับ 1-MCP ความเข้มข้น ๑๐๐-๕๐๐ ppb นาน ๓-๔ ชั่วโมง ที่อุณหภูมิห้องก่อนการบรรจุท� ำให้ลดความเสียหายดังกล่าวที่เกิดจาก เอทิลีนในภาชนะบรรจุระหว่างการขนส่ง (รูปที่ ๒) นอกจากนี้ยังพบว่า การรมหรือการให้ดอกกล้วยไม้ สกุลหวายได้รับ 1-MCP ก่อนที่จะน� ำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิต�่ ำ ๕-๑๐ องศาเซลเซียส สามารถท� ำให้ ดอกกล้วยไม้นั้นได้รับความเสียหายน้อยลง CH 3
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=