สำนักราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 1 Jan.-Mar. 2012 การใช้ 1-methylcyclopropene กั บผลิ ตผลพื ชสวนสดหลั งการเก็ บเกี่ ยว 114 ในระยะเริ่มต้นของการศึกษาการท� ำงานของเอทิลีนพบว่า การท� ำงานของเอทิลีนต้องการออกซิเจนและ อาจมีโลหะชนิดหนึ่งที่จ� ำเป็น บริเวณที่เอทิลีนเข้าจับมีสมบัติเป็นโปรตีนด้วย เมื่อความก้าวหน้าด้าน ชีวโมเลกุลมีมากขึ้นและน� ำมาใช้ศึกษาการท� ำงานของเอทิลีน ท� ำให้ทราบว่าการท� ำงานของเอทิลีนที่ เกี่ยวข้องกับพืชซึ่งมีจีนควบคุมการท� ำงานของเอทิลีน หรืออีกนัยหนึ่งคือการท� ำงานของเอทิลีนต้องอาศัย จีน และจีนที่เกี่ยวข้องกับการท� ำงานของเอทิลีนมีหลายชุด (multifamily genes) มีผู้ค้นพบกลุ่มจีน การท� ำงานของเอทิลีน ได้แก่ ETR, ERS และ EIN แต่ละกลุ่มยังประกอบด้วยจีนที่มีมากกว่า ๑ จีน ดังนั้น วิธีการใดก็ตามที่ท� ำให้จีนที่เกี่ยวข้องกับการท� ำงานของเอทิลีนไม่สามารถแสดงออกได้ หรือท� ำให้ต้นพืชไม่มี จีนที่เกี่ยวของกับการท� ำงานของเอทิลีน กระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท� ำงานของเอทิลีนจะไม่เกิด ขึ้น เอทิลีนที่พืชสร้างขึ้นหรือพืชได้รับจากภายนอกยังกระตุ้นให้จีนบางตัวแสดงออกอีกด้วย แล้วเอทิลีน จึงสามารถท� ำงานได้ ในปัจจุบันการวิจัยด้านนี้ก้าวหน้ามากถึงขั้นที่สามารถสร้างพันธุ์พืชดัดแปรพันธุกรรม ที่ไม่มีจีนควบคุมการท� ำงานของเอทิลีน ท� ำให้พืชไม่ได้รับผลกระทบจากเอทิลีน การค้นพบ 1-MCP สาร 1-MCP ถูกค้นพบใน ค.ศ. ๑๙๙๖ โดยนักวิจัยสหรัฐอเมริกัน ๒ คน คือ SylviaM. Belnkenship และ Edwards C. Sisler ซึ่งท� ำงานอยู่ที่ North Carolina State University ประเทศสหรัฐอเมริกา 1-MCP เป็นสารที่มีโมเลกุลของคาร์บอน ๔ โมเลกุล (C 4 H 6 ) มีองค์ประกอบเป็นสามเหลี่ยมของคาร์บอนที่มีหมู่เมทิล เกาะอยู่ (รูปที่ ๑) สารนี้มีสถานะเป็นแก๊สและน�้ ำหนักโมเลกุล ๕๔ เป็นสารที่เกิดจากกระบวนการสลาย ของ diazocyclopropene ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายเอทิลีนและขัดขวางการจับกันของตัวรับเอทิลีน ท� ำให้ตัว รับเอทิลีนไม่ท� ำงาน ส่งผลต่อจีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสุกและกระบวนการอื่น ๆ ที่ชักน� ำโดยเอทิลีน จึงท� ำให้การสุกของผลไม้และกระบวนการอื่น ๆ ถูกยับยั้ง จากการที่ 1-MCP เป็นสารที่อยู่ในรูปของแก๊ส ซึ่งไม่สะดวกในการใช้และการเก็บรักษา ดังนั้น จึงมีการพัฒนาสารนี้ให้อยู่ในรูปของแข็งที่เป็นผง โดย รวมตัวกับ y-cyclodextrin กลายเป็นสารประกอบเชิงซ้อนในรูปผง ที่อยู่ในสภาพเสถียร สามารถผสม กับน�้ ำและปลดปล่อยแก๊ส 1-MCP ออกมา มีการใช้ 1-MCP ในเชิงพาณิชย์ใน ค.ศ. ๑๙๙๙ โดยใช้ชื่อ การค้าว่า EthyleBloc ® โดยบริษัท Floralife (สหรัฐอเมริกา) ต่อมาบริษัท AgroFresh (สหรัฐอเมริกา) ได้รับโอนกิจการ EthyleBloc ® และเปลี่ยนชื่อการค้าของสารชนิดนี้เป็น SmartFresh® ในปัจจุบันได้มี การพัฒนาสารที่ใช้ผสมน�้ ำแล้วอยู่ในรูปสารละลายซึ่งสามารถจุ่มผลิตผลลงไปได้ 1-MCP เป็นสารเคมีที่มี ความปลอดภัยในการน� ำไปใช้กับผลิตผล เนื่องจากเป็นสารที่ไม่ก่อให้เกิดพิษหรือมีความเป็นพิษต�่ ำ ไม่เป็น สารที่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ อีกทั้งไม่มีกลิ่น มีความปลอดภัยต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=