สำนักราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ 113 สายชล เกตุษา การพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการเอทิลีน ปัญหาความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยวของผลิตผลเมื่อได้รับเอทิลีน ท� ำให้นักวิจัยพยายามคิดค้น วิธีการป้องกันความเสียหายของผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยวเนื่องจากเอทิลีน คือ การจัดการเอทิลีนซึ่ง สามารถท� ำได้ ๒ วิธี ได้แก่ ๑) ยับยั้งการสร้างเอทิลีนของพืช ๒) ยับยั้งการท� ำงานของเอทิลีน หรืออาจท� ำ ทั้ง ๒ อย่างพร้อมกันก็ได้ การยับยั้งการสร้างเอทิลีนนั้นสามารถท� ำได้ ๓ วิธีคือ ๑) วิธีทางเคมี เช่น ใช้ สารยับยั้งการสังเคราะห์กิจกรรมเอนไซม์ หรือยับยั้งการท� ำงานของเอนไซม์ ACS และ ACO สารที่ น� ำมาใช้แล้วได้ผล เช่น aminooxyacetic acid, amonoethoxyvinyl glycine, methoxyvinyl glycine, cobolt และ dinitrophenol 2) วิธีทางกายภาพ คือ การใช้อุณหภูมิต�่ ำหรืออุณหภูมิสูง และ ๓) วิธีทาง ชีวโมเลกุล โดยการตัดต่อจีนซึ่งท� ำให้จีนที่ควบคุม ACS และ ACO ไม่แสดงออกหรือไม่ท� ำงาน หรือการ ตัดต่อจีนโดยใส่จีน ACC deaminase ที่ท� ำให้ ACC ที่ถูกสร้างขึ้นนั้นถูกย่อยสลายเป็นสารอื่น โดยไม่มี ACC ที่จะเปลี่ยนไปเป็นเอทิลีน การยับยั้งการท� ำงานของเอทิลีนนั้นสามารถท� ำได้หลายวิธี คือ ๑) การยับยั้ง โดยการก� ำจัดแหล่งที่มาของเอทิลีน ที่ส� ำคัญได้แก่ ผลไม้สุก ผักผลไม้ที่เน่าเสีย ดังนั้น ต้องพยายามก� ำจัด ผลไม้สุกและผักผลไม้ที่เน่าเสียออกจากบริเวณที่มีการเก็บผลิตผลพืชสวนสด ๒) การระบายอากาศ คือ ท� ำให้มีการถ่ายเทหรือหมุนเวียนของอากาศที่ไม่มีเอทิลีนเข้ามาแทนที่อากาศที่มีเอทิลีน เพื่อให้เอทิลีน ที่มีอยู่ในบรรยากาศลดน้อยลงหรือไม่มีเอทิลีน ๓) การใช้สารดูดซับเอทิลีน ประดิษฐ์สารที่มีสมบัติดูดจับ เอทิลีนในบรรยากาศ ท� ำให้เอทิลีนลดน้อยลง คือ การใช้สารเฉื่อยที่มีรูพรุน เช่น ชอล์ก เวอร์มิคูไลต์ หรือ ปูนขาวผสมเวอร์มิคูไลต์ จุ่มในสารละลายด่างทับทิม หรืออาจใช้ถ่านกัมมันต์ และซิลิกาเจล ๔) วิธีทางเคมี มีการใช้สารเคมีหลายชนิดที่มีสมบัติยับยั้งการท� ำงานของเอทิลีน เช่น เอทิลีนออกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ 2,5- norbornadiene (NBD) และ silver (Ag) และ ๕) วิธีทางชีวโมเลกุล เนื่องจากการท� ำงานของเอทิลีน มีจีนที่ควบคุม และจีนที่ควบคุมการท� ำงานของเอทิลีนมีหลายชุด ได้แก่ ethylene triple response (ETR), ethylene response sensor (ERS) และ ethylene insensitive (EIN) จีนบางกลุ่มเมื่อมีอยู่จะไม่สามารถ ท� ำให้เอทิลีนท� ำงานได้ ขณะเดียวกันถ้าไม่มีจีนบางกลุ่ม เอทิลีนจะไม่สามารถท� ำงานได้ จากความรู้ทาง ชีวโมเลกุลจึงน� ำมาประยุกต์สร้างพันธุ์พืชที่ดัดแปลง (transgenic plant) ของกลุ่มจีนดังกล่าว ท� ำให้พืชที่ สร้างขึ้นใหม่นั้นเมื่อได้รับเอทิลีนจากภายนอกจะไม่ส่งผลกระทบให้เกิดความเสียหายแก่พืช การท� ำงานของเอทิลีน เนื่องจากเอทิลีนไม่ได้มีบทบาทเพียงท� ำให้ผลไม้สุกเท่านั้น แต่เอทิลีนยังมีบทบาทในการพัฒนาของ พืชตั้งแต่การงอกของเมล็ดจนกระทั่งพืชตาย โดยที่เอทิลีนอาจเข้าไปเกี่ยวข้องในช่วงใดช่วงหนึ่งของการ เจริญเติบโตของพืช พืชแต่ละชนิดอาจมีเอทิลีนเข้าไปเกี่ยวข้องในช่วงของการเจริญเติบโตที่ไม่เหมือนกัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=