สำนักราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 1 Jan.-Mar. 2012 การใช้ 1-methylcyclopropene กั บผลิ ตผลพื ชสวนสดหลั งการเก็ บเกี่ ยว 112 การสูญเสียผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยวมีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก เอทิลีนถือเป็นปัจจัย หนึ่งที่มีบทบาทส� ำคัญต่อคุณภาพของผัก ผลไม้ และไม้ดอกไม้ประดับหลังการเก็บเกี่ยว เอทิลีนที่เกิดจาก ผลิตผลโดยตรง หรือจากภายนอกรอบ ๆ ผลิตผล สามารถท� ำความเสียหายได้หลายรูปแบบแก่ผลิตผลหลัง การเก็บเกี่ยว บทความนี้จะกล่าวถึง การใช้ 1-MCP เพื่อป้องกันความเสียหายของผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว บทบาทของเอทิลีน เอทิลีนเป็นฮอร์โมนพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสารไฮโดรคาร์บอน มีสูตรโครงสร้างที่ง่ายและไม่สลับซับ ซ้อนเมื่อเปรียบเทียบกับฮอร์โมนพืชชนิดอื่น ๆ ได้แก่ ออกซิน ไซโตไคนิน กรดจิบเบอเรลลิน และกรดแอบซิซิก เอทิลีนเป็นฮอร์โมนพืชที่มีสมบัติเป็นแก๊ส ซึ่งบางครั้งมีชื่อเรียกอย่างอื่นว่า “ripening hormone” หรือ “ripening gas” เพราะเอทิลีนเป็นตัวกระตุ้นการสุกของผลไม้ประเภท climacteric คือ ผลไม้ที่มีการ หายใจเพิ่มขึ้นระหว่างการสุก เช่น กล้วย มะม่วง มะละกอ ทุเรียน มังคุด แอปเปิล ท้อ สาลี่ แม้ว่า เอทิลีนไม่ได้เป็นตัวกระตุ้นการสุกในผลไม้ประเภท non-climacteric คือ ผลไม้ที่ไม่มีการหายใจเพิ่มขึ้น ระหว่างการสุก เช่น ส้ม มะนาว องุ่น ลิ้นจี่ ล� ำไย ลองกอง เงาะ สตรอเบอรี่ เชอรี่ แต่ถ้าผลไม้ประเภทนี้ ได้รับเอทิลีนจากภายนอก ก็จะสามารถเร่งการเสื่อมสภาพได้เช่นเดียวกัน นอกจากบทบาทของเอทิลีน ต่อการสุกของผลไม้แล้ว เอทิลีนที่พืชสร้างขึ้น หรือเอทิลีนที่พืชได้รับจากภายนอก สามารถเร่งการเสื่อม ของผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยวในสภาพต่าง ๆ ได้ ความรุนแรงของผลกระทบจากเอทิลีนนั้นขึ้นอยู่กับชนิด ของพืช ความเข้มข้นของเอทิลีน อุณหภูมิและระยะเวลาที่ได้รับเอทิลีน ความเสียหายที่เกิดจากการได้รับเอทิลีนนั้นมีหลายอย่าง เช่น ผลไม้สุกเร็วขึ้น การอ่อนนุ่มของผล ไม้ การสูญเสียคลอโรฟิลล์ การหลุดร่วงของส่วนต่าง ๆ ของพืช การเหี่ยวของดอกไม้ การผิดปกติบางอย่าง ทางด้านสรีระ ผลกระทบจากเอทิลีนดังกล่าวจะท� ำให้ผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยวมีการสูญเสียคุณภาพเร็วขึ้น และมีอายุการวางขายหรือการเก็บรักษาสั้นลง เอทิลีนสร้างจากกรดแอมิโนเมตไทโอนีน โดยกระบวนการเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์หลัก ๒ ชนิด คือ 1-aminocyclopropene-1-carboxylic acid synthase (ACS) และ 1-aminocyclopropene-1-carboxylic acid oxidase (ACO) ส่วนต่าง ๆ ของพืชนั้นมีความสามารถในการสร้างเอทิลีนได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ ความสามารถในการสังเคราะห์กิจกรรมของเอนไซม์ ACS และ ACO ที่ไม่เท่ากัน การสังเคราะห์เอนไซม์ ทั้ง ๒ ชนิดถูกควบคุมด้วยจีน การสังเคราะห์เอทิลีนยังขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน ปัจจัย ภายใน ได้แก่ ความสามารถของพืชในการสังเคราะห์เอนไซม์หลักทั้ง ๒ ชนิดดังกล่าว ชนิดและวัยของพืช ส่วนปัจจัยภายนอกที่ส� ำคัญ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และแสง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=