สำนักราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ การใช้ 1-methylcyclopropene กับผลิตผลพืชสวนสดหลังการเก็บเกี่ยว* สายชล เกตุษา ภาคีสมาชิก ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน บทคัดย่อ ผัก ผลไม้ และไม้ดอกไม้ประดับ มีความส� ำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย แต่เป็น ผลิตผลที่เสื่อมสภาพเร็วหลังการเก็บเกี่ยว ท� ำให้อายุการวางจ� ำหน่ายสั้น เอทิลีนที่ผลิตผลสร้างขึ้น เองและที่ได้รับจากภายนอกเป็นตัวการส� ำคัญที่ท� ำให้ผลิตผลเหล่านี้มีการเสื่อมสภาพเร็ว การจัดการ เอทิลีนหลังการเก็บเกี่ยวอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยลดการเสื่อมสภาพของผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว ได้มาก และท� ำให้ผลิตผลมีอายุการวางจ� ำหน่ายนานขึ้น สาร 1-methylcyclopropene (1-MCP) เป็นสารยับยั้งการท� ำงานของเอทิลีนที่มีประสิทธิภาพสูง ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและเป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม มีการใช้สาร 1-MCP กับผัก ผลไม้ และไม้ดอกไม้ประดับหลังการเก็บเกี่ยวอย่างกว้าง ขวางในต่างประเทศ ท� ำให้สามารถรักษาความสด และยืดอายุการวางจ� ำหน่ายของผลิตผลพืชสวน ได้หลายชนิด ในประเทศไทยมีการใช้ 1-MCP ในเชิงพาณิชย์กับผลิตผลพืชสวนสดหลายชนิด ค� ำส� ำคัญ : 1-MCP, การท� ำงานของเอทิลีน, การเสื่อมสภาพ, ผลิตผลพืชสวนสด, เทคโนโลยีหลัง การเก็บเกี่ยว ค� ำน� ำ ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตผลิตผลพืชสวนเขตร้อนที่ส� ำคัญ ซึ่งมีทั้งผลไม้ ผัก และไม้ดอกไม้ประดับ ผลิตผลพืชสวนเหล่านี้มีความส� ำคัญทั้งด้านเศรษฐกิจและคุณค่าทางโภชนาการส� ำหรับคนในประเทศ กล่าว คือ เกษตรกรไทยปลูกไม้ผล พืชผัก และพืชสวนประดับ ทั้งเพื่อจ� ำหน่ายภายในประเทศและส่งออก ท� ำให้ เกษตรกรสามารถท� ำรายได้จากการขายผลิตผลพืชสวนภายในประเทศ และยังส่งออกไปขายในตลาดต่าง ประเทศด้วย ซึ่งสามารถท� ำรายได้ให้แก่ประเทศปีละหลายพันล้านบาท อย่างไรก็ตาม ผลิตผลพืชสวนเป็น ของสด และเน่าเสียง่าย ท� ำให้มีอายุการวางจ� ำหน่ายสั้น *ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=