สำนักราชบัณฑิตยสภา
3 ศิ ริ พงศ์ หั งษพฤกษ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ ๓. ลักษณะทางกายภาพของลุ่มน�้ ำในประเทศไทย ขอบเขตของลุ่มน�้ ำจะถูกก� ำหนดโดยสันเขาปันน�้ ำที่ไหลลงสู่ทางน�้ ำที่ส� ำคัญในบริเวณลุ่มน�้ ำและ ไหลต่อลงสู่ทะเลหรือล� ำน�้ ำใหญ่ต่อไป คณะกรรมการทรัพยากรน�้ ำแห่งชาติ ได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น ๒๕ ลุ่มน�้ ำ หรือ ๙ กลุ่มลุ่มน�้ ำ เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ ำที่มีความแปรปรวน ทั้งในเชิงพื้นที่และเวลา โดยได้รับผลกระทบจากมรสุมแตกต่างกันมากในแต่ละลุ่มน�้ ำ การแบ่งขอบเขตลุ่มน�้ ำมีความแตกต่างกับขอบเขตการปกครอง เนื่องจากขอบเขตลุ่มน�้ ำถูกก� ำหนด โดยลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ แต่การขีดขอบเขตของลุ่มน�้ ำในบริเวณที่ราบจ� ำเป็นต้องพิจารณา ขอบเขตการปกครอง ความสมัครใจของประชาชนและสิ่งก่อสร้างขวางทางน�้ ำ การแบ่งขอบเขตลุ่มน�้ ำที่ แตกต่างจากเขตการปกครองท� ำให้การบริหารจัดการล่มน�้ ำยุ่งยากขึ้น แต่สามารถลดปัญหาลงได้โดยใช้ กลไกของคณะกรรมการลุ่มน�้ ำที่มีผู้แทนของทุกจังหวัดในลุ่มน�้ ำ ๔. สถานการณ์น�้ ำของประเทศไทย ได้มีการประเมินความต้องการน�้ ำว่าประเทศไทยส่วนใหญ่มีความต้องการน�้ ำเพื่อการเกษตร และการผลิตไฟฟ้าปีละ ๕๑,๙๓๕ ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ ๗๔ มีความต้องการน�้ ำเพื่ออุตสาหกรรม ปีละ ๓.๐๒๕ ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ ๔.๔ และต้องการน�้ ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ปีละ ๒,๔๙๒ ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ ๓.๖ ที่เหลือเป็นน�้ ำรักษาระบบนิเวศ ปีละ ๑๒,๓๕๙ ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ ๑๘ จากการวิเคราะห์ความต้องการน�้ ำรายภาคเปรียบเทียบกับปริมาณน�้ ำที่มีอยู่อย่างมั่นคงจากอ่าง เก็บน�้ ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง จะเห็นว่าประเทศไทยอยู่ในสภาวะที่ขาดแคลนน�้ ำโดยเฉพาะในภาค กลางที่ไม่มีแหล่งน�้ ำของตนเอง แต่ต้องพึ่งน�้ ำจากภาคเหนือ และมีการขาดแคลนน�้ ำในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ทั้งนี้ หากพิจารณาลงไปในรายละเอียดระดับลุ่มน�้ ำและลุ่มน�้ ำย่อย ก็จะ เห็นการกระจายของพื้นที่ขาดแคลนน�้ ำได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ได้มีความพยายามคาดการณ์สถานการณ์น�้ ำ ในอนาคต ภายใต้สมมุติฐานการพัฒนาของประเทศ ๓ รูปแบบ โดยจะเห็นได้ว่าหากมีการขยายตัวของ พื้นที่เกษตรชลประทานในอัตราปัจจุบันก็จะท� ำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน�้ ำรุนแรงมากเกินกว่าที่จะ สามารถพัฒนาแหล่งน�้ ำเพิ่มเติมรองรับความต้องการน�้ ำที่เพิ่มมากขึ้นได้ แต่ในกรณีที่ ๒ ที่ไม่มีการพัฒนา พื้นที่เกษตรชลประทานเพิ่มเติม เพียงแต่มีการขยายตัวการพัฒนาอุตสาหกรรมและการเพิ่มของประชากร ก็จะท� ำให้ระดับความรุนแรงของการขาดแคลนน�้ ำอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมไม่ให้รุนแรงกว่าปัจจุบันได้ และในกรณีที่ ๓ ที่มีการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น�้ ำร้อยละ ๑๐ ก็จะท� ำให้ความรุนแรงของสถานการณ์ ขาดแคลนน�้ ำลดลงกว่าปัจจุบัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=