สำนักราชบัณฑิตยสภา

อ็ องเดร มาลโร กั บโลกศิ ลปะ 94 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 ตามรอยทางศิลปินและศิลปะ เมื่อเริ่มคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ กลุ่มคนที่มีฐานะการเงินดีและปัญญาชนในกรุงปารีสนิยมเดินทาง ไปตามสถานที่ที่ชื่นชอบของศิลปินและนักเขียน ตัวอย่างเช่น ตามรอยการเดินทางของจิตรกรโกแก็ง (Gauguin) ไปยังเกาะตาฮิติ หรือเดินทางไปอบิสซิเนียตามแบบกวีเอกชื่อ แรงโบ (Rimbaud) ซึ่งโด่งดัง ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ อ็องเดร มาลโรมีบรรพบุรุษที่มีสายเลือดฟลาม็อง (flamand) ซึ่งอาศัยอยู่ที่ ท่าเรือทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส เขาจึงชอบการเดินทางผจญภัยเช่นเดียวกับบรรพบุรุษ ศิลปินและนักผจญภัยที่อ็องเดร มาลโรใฝ่ฝันที่จะด� ำเนินรอยตาม ได้แก่ กวีแรงโบและลอเรนซ์ แห่งอาเรเบีย มาลโรประทับใจในบทกวีที่ชื่อ Le Bateau ivre (ค.ศ. ๑๘๗๑/พ.ศ. ๒๔๑๔) ของแรงโบซึ่ง บรรยายถึงดินแดนนิรนามที่ไกลโพ้นในจินตนาการ ถ้ามาลโรจะออกเดินทางผจญภัย เขาก็ประสงค์จะเดิน ทางไปในประเทศเล็ก ๆ ที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก เป็นดินแดนแห่งต� ำนานและเป็นที่พ� ำนักของชนเผ่าพื้นเมือง รอแบร์ แปน (Robert Payne) กล่าวว่า มาลโรมีรสนิยมด้านศิลปะในท� ำนองเดียวกัน เขาเขียนถึงมาลโรว่า ในด้านศิลปะ มาลโรมีรสนิยมชอบสิ่งแปลก หายากและ ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก กาโล (Callot), เบรอแกล (Breughel), บ็อช (Bosch), ปีราเนซี (Piranese) และโกยา (Goya) ยังไม่อยู่ ในความนิยม แต่มาลโรก็ชื่นชมศิลปินดังกล่าวเหมือนที่เขา ชื่นชมสิ่งที่แปลกและสะท้อนถึงความตาย สิ่งที่มาลโรแสวงหา จากศิลปินคือเป็นผู้แสดงถึงสิ่งลี้ลับ เป็นเพื่อนร่วมเดินทางของ มนุษย์ในดินแดนแห่งจิตวิญญาณ ศิลปินต้องเป็นผู้พยากรณ์ ด้วยเหตุเดียวกันนี้มาลโรจึงชื่นชมหนังสือทั้งสองเล่มของ คาร์ล ไอน์สไตน์ เกี่ยวกับศิลปะนีโกรเรื่อง Negerplastik และเรื่อง Afrikanische Plastik ซึ่งตีพิมพ์เมื่อต้นทศวรรษ ๑๙๒๐ คาร์ล ไอน์สไตน์เป็นหนึ่งในบรรดาผู้เขียนรุ่นแรก ๆ ที่กล่าวถึงศิลปะแอฟริกาโดยใช้เหตุผลและมีความเข้าใจอันดี (Payne 1973: 26)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=