สำนักราชบัณฑิตยสภา

89 นิ ตยา กาญจนะวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ภาษาในลักษณะดังกล่าวมักจะถูกกล่าวหาว่าเป็น “ภาษาวิบัติ” แต่หากพิจารณาดูให้ละเอียด แล้วจะเห็นได้ว่า มีบางส่วนที่วิบัติจริง เช่น การใช้รูปวรรณยุกต์ผิดจากข้อก� ำหนด ซึ่งจะท� ำให้เกิดความ ลักลั่นกับค� ำที่เขียนตามข้อก� ำหนดดังกล่าวไปแล้ว เช่น ค� ำว่า “ฟ้า” ใช้ไม้โทแสดงเสียงตรีก� ำกับอักษรต�่ ำ แต่ถ้าใช้ไม้ตรีในค� ำว่า “ฟู๊ด” ซึ่งออกเสียงตรีเหมือนกัน ก็จะกลายเป็น ๒ มาตรฐาน การสร้างค� ำใหม่ อาจจะถือได้ว่าเป็นการ “สร้างสรรค์” อย่างหนึ่งก็ได้ ส่วนการดัดแปลงค� ำเก่าทั้งในด้านเสียงและ ความหมายต้องพิจารณาให้ละเอียดเกินกว่าจะกล่าวว่าทุกค� ำเป็นภาษาวิบัติ เรื่องที่ต้องค� ำนึงถึงอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ข้อจ� ำกัดในด้านเครื่องมือ ซึ่งมีผลต่อภาษามาแล้ว ตั้งแต่ การใช้ตัวพิมพ์ การใช้พิมพ์ดีด และการใช้โทรเลข การใช้ภาษาในโลกไร้สายต้องพิมพ์ข้อความผ่านแป้น อักขระโดยที่ผู้ใช้ภาษาต้องการความรวดเร็ว จึงไม่มีเวลาตรวจสอบสิ่งที่ได้ระบุไว้แล้วในพจนานุกรม การ กดแป้น shift ก็เป็นการเสียเวลาอย่างหนึ่ง รวมทั้งความไม่แม่นย� ำในต� ำแหน่งของแป้นอักขระก็เป็น อุปสรรคอีกอย่างหนึ่งด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิมพ์ข้อความสั้นผ่านแป้นอักขระของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีขนาดเล็ก ก็ท� ำให้การเขียนเป็นเรื่องของ “การเขียนตามเสียง” มากกว่าการค� ำนึงถึงตัวสะกดที่สมมติ กันว่าถูกต้อง ค� ำบางค� ำเมื่อปรากฏเดี่ยว ๆ อาจจะไม่สื่อ แต่เมื่ออยู่ในบริบทก็สามารถสื่อได้ ซึ่งผู้ใช้อาจ จะไม่วิตกเรื่องการสะกดไม่ตรงกับที่ก� ำหนดไว้ในพจนานุกรม สิ่งที่ครูภาษาไทยควรจะท� ำก็คือ ช่วยกันสอนว่า การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารนั้นมีหลายระดับ โดยธรรมชาติภาษาย่อมมีความแตกต่างกันไปตามเวลา สถานที่ บุคคล และสถานการณ์ที่ใช้ ภาษาของ โลกไร้สายก็คือภาษาที่เหมาะสมแก่ “โลกไร้สาย” แต่ไม่สามารถน� ำมาใช้ได้ในภาษาทั่วไป โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในภาษาที่เป็นทางการ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=