สำนักราชบัณฑิตยสภา

เครื่ องมื อเปลี่ ยน ภาษาเปลี่ ยน 88 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 ๘. ใช้อักษรโรมันประกอบ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ ก) ใช้อักษรโรมันที่มีลักษณะคล้ายอักษรไทย เช่น เปลี่ยน “เทพ” เป็น “Inw” เปลี่ยน “นอน” เป็น “uou” เปลี่ยน “เกรียน” เป็น “เกรีeu” ข) ใช้อักษรไทยผสมกับอักษรโรมัน เช่น เขียนค� ำว่า “พี่” เป็น “p่i” “pi่” (ค� ำนี้เติมไม้เอก ให้อักษรโรมัน) ๙. ออกเสียงแบบดัดจริตจีบปากจีบคอ แล้วเขียนตามนั้น เช่น เปลี่ยน “เดี๋ยว” เป็น “เด๋ว” เปลี่ยน “คิดถึง” เป็น “คิดถุง” เปลี่ยน “ดีกว่า” เป็น “เดกั่ว” ๑๐. ใช้ศัพท์ใหม่ที่ไม่มีในพจนานุกรม เช่น “โอ๊ย นักบอลคนนี้กากอะ ส่วนคนที่ยืนทางขวานี่เมพขิง ๆ” “กาก” หมายความว่า “อ่อนหัด ไร้ประโยชน์ หรือ ไม่ได้เรื่อง” ก� ำเนิดของค� ำนี้มาจากขยะ เศษกาก หรือสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ บทสรุป สาเหตุที่ท� ำให้ภาษาในโลกไร้สายมีลักษณะดังกล่าวถึงไปแล้วนั้น อาจจะกล่าวได้ว่า มีทั้งเรื่อง ของการเปลี่ยนแปลงภาษาทั้งในด้านภาษาพูดและภาษาเขียน ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติของภาษาที่ยังมี ชีวิตอยู่ และทั้งในด้านข้อจ� ำกัดของเครื่องมือที่ใช้ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่การใช้หินจารึกมา จนถึงการใช้แป้นอักขระ การสร้างค� ำใหม่เป็นเรื่องที่อธิบายได้ไม่ยาก เพราะค� ำใหม่ย่อมเป็นตัวแทนของสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้น ในสังคม โดยเฉพาะสิ่งใหม่ที่ยังไม่มีค� ำเรียก การเขียนไม่ตรงกับสิ่งที่ก� ำหนดไว้ในพจนานุกรมก็อาจจะอธิบาย ได้ว่าเป็นลักษณะการปลดปล่อยตนเองออกจากกรอบ ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีตัวพิมพ์และการสร้างระเบียบ ต่าง ๆ ทางด้านภาษา ตั้งแต่พจนานุกรมไปจนถึงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อันเป็นเรื่องสมมุติขึ้นเพื่อให้เกิดเอกภาพ ในสังคม การออกเสียงไม่เหมือนเดิมก็อาจจะถือได้ว่าเป็นลักษณะ “ขบถ” ปลดปล่อยตนเองออกจากกรอบ ได้อีกแบบหนึ่ง ส่วนการเขียนผิดกฎเกณฑ์ทางด้านอักขรวิธีนั้นอาจจะเกิดจากความไม่แม่นย� ำ เพราะขาด การศึกษาสิ่งที่ได้สมมุติกันมาอย่างลงตัวแล้ว

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=