สำนักราชบัณฑิตยสภา
เครื่ องมื อเปลี่ ยน ภาษาเปลี่ ยน 86 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 ข) เขียนตามที่ออกเสียงจริง เช่น เปลี่ยน “จริง” เป็น “จิง” เปลี่ยน “เสร็จ” เป็น “เส็ด” เปลี่ยน “ครับ” เป็น “คร้าบ” (ค� ำนี้อาจผันรูปวรรณยุกต์ผิดเป็น “คร๊าบ” ได้ด้วย) เปลี่ยน “ไม่” เป็น “ม่าย” เปลี่ยน “ไปไหน” เป็น “ปายหนาย” เปลี่ยน “นะ” เป็น “น้า” ค) ไม่ออกเสียงควบกล�้ ำ (ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา) แล้วเขียนตามนั้น เช่น เปลี่ยน “เปล่า” เป็น “เป่า, ป่าว” (ค� ำนี้ถ้ายังรักษาเสียงควบกล�้ ำไว้ ก็อาจจะเขียนแบบออกเสียงยาว เป็น “ปล่าว” ถ้าตัดเสียงสระของสระ ประผสมออกไป ๑ เสียง และไม่มีเสียงควบกล�้ ำด้วย จะกลายเป็น “ปะ” [plau] กลายเป็น [pa]) เปลี่ยน “ครับ” เป็น “คับ” ง) เพิ่มเสียงควบกล�้ ำลงในค� ำที่ไม่มีเสียงควบกล�้ ำ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๒ แบบ คือ _ เจตนาเพิ่มเสียงเพื่อให้แตกต่างจากมาตรฐาน เช่น เปลี่ยน “ค่ะ” เป็น “คร่ะ” “คร่า” เปลี่ยน “คะ” เป็น “คร้า” เปลี่ยน “จ้ะ” เป็น “จร้ะ” “จร้า” _ เจตนาเพิ่มเสียงเพื่อหลีกเลี่ยงค� ำไม่สุภาพทางระบบคัดกรองค� ำในอินเทอร์เน็ต เช่น เปลี่ยน “กู” เป็น “กรู” จ) ตั้งใจเปลี่ยนการออกเสียง แล้วเขียนตามนั้น เช่น เปลี่ยน “ผม” เป็น “ป๋ม” เปลี่ยน “เป็น” เป็น “เป็ง” เปลี่ยน “มึง” เป็น “เมิง”
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=