สำนักราชบัณฑิตยสภา

85 นิ ตยา กาญจนะวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ภาษาแช็ตมีลักษณะของการสื่อสารที่รีบเร่ง ต้องการระบายอารมณ์ อยากลองสิ่งแปลกใหม่ ต้องการตามความนิยมของสังคม ที่ส� ำคัญที่สุดก็คือต้องการเพียงสื่อความหมายกันอย่างรวดเร็วเท่านั้น เมื่อจะระบายอารมณ์ มักจะกดแป้นแรง ๆ ค้างไว้ ตัวอักขระตัวท้ายจึงปรากฏซ�้ ำ ๆ กันขึ้นมา เช่น เบื่อออ ออออออออออออออโว้ยยยยยยยยยยย เมื่อต้องการแสดงอารมณ์ต่าง ๆ ก็อาจจะใช้สัญลักษณ์ที่เรียกว่า emoticon เช่น : - ) = “ยิ้ม หรือ หน้าตามีความสุข” : ‘ ( = “ร้องไห้” > : D = “หัวเราะ” หรือถ้าต้องการ จะตะโกนก็ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น “I say NO.” ซึ่งเทียบเคียงได้กับการใช้ “ตัวโป้ง” ในระบบการพิมพ์ ภาษาแช็ตมีลักษณะที่พอจะสรุปได้ ๑๐ แบบ ดังนี้คือ ๑. ไม่เขียนตามแบบมาตรฐานที่ปรากฏในพจนานุกรม เช่น เปลี่ยน “ก็” เป็น “ก้อ” เปลี่ยน “ใช่ไหม” เป็น “ใช่มั้ย” เปลี่ยน “ใจ” เป็น “จัย” เปลี่ยน “ไง” เป็น “งัย” เปลี่ยน “กรรม” เป็น “ก� ำ” ๒. ผันรูปวรรณยุกต์ผิดกฎเกณฑ์การเขียนภาษาไทยมาตรฐาน เช่น เปลี่ยน “สนุกเกอร์” เป็น “สนุ๊กเกอร์” เปลี่ยน “โน้ต” เป็น “โน๊ต” เปลี่ยน “หนู” เป็น “นู๋” ในกรณีนี้คือการใช้ไม้ตรีก� ำกับพยัญชนะเสียงต�่ ำ (อักษรต�่ ำ) เพื่อแสดงเสียงตรี แต่กฎเกณฑ์ การเขียนภาษาไทยให้ใช้ไม้โทก� ำกับ และการใช้ไม้จัตวาก� ำกับพยัญชนะต�่ ำเพื่อแสดงเสียงจัตวา แต่กฎเกณฑ์ การเขียนภาษาไทยให้ใช้ ห หีบ น� ำอักษรต�่ ำ ๓. เขียนตามเสียงพูด โดยไม่ค� ำนึงถึงการเขียนที่ระบุในพจนานุกรม ซึ่งแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ ก) ตัดเสียงสระของสระประผสมออกไป ๑ เสียง เพื่อให้ออกเสียงได้สั้นลง เช่น เปลี่ยน “ใช่ไหม [chaimai]” เป็น “ชิมิ [chimi]” เปลี่ยน “ไหม [mai]” เป็น “มะ [ma]” เปลี่ยน “ตัว(เอง) [tua]” เป็น “ตะ(เอง) [ta]”

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=