สำนักราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 นววรรณ พันธุเมธา ราชบัณฑิต ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน ค� ำคล้ายในภาษาไทยและภาษาไท * บทคัดย่อ มีค� ำไทยจ� ำนวนหนึ่งที่มีเสียงคล้ายกันและความหมายก็คล้ายกัน ค� ำเหล่านี้อาจเรียกได้ว่า “ค� ำคล้าย” พระยาอนุมานราชธนสันนิษฐานสาเหตุที่มีค� ำคล้ายในภาษาไทยว่า เดิมค� ำเหล่านี้เป็นค� ำ เดียวกัน แต่เปลี่ยนเสียงสระ พยัญชนะ หรือวรรณยุกต์ เพื่อให้มีความหมายต่างออกไป บทความนี้ เสนอเรื่องค� ำคล้ายในภาษาไทยที่มีผู้ศึกษาไว้ และให้ตัวอย่างค� ำคล้ายในภาษาตระกูลไทอีกบางภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวอย่างค� ำในภาษาไทเหนือที่ความแตกต่างของเสียงบอกความแตกต่างทางความ หมาย ค� ำส� ำคัญ : ค� ำคล้าย * ปรับปรุงจากการบรรยายทางวิชาการในที่ประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ค� ำคล้ายในที่นี้หมายถึง ค� ำที่มีเสียงคล้ายกันและความหมายก็คล้ายกันหรือเกี่ยวข้องกัน เช่น ปิด ติด มิด ชิด โกง โก่ง โค้ง ฯลฯ มีผู้สนใจค� ำคล้ายอยู่หลายคน เช่น พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ทรง ตั้งข้อสังเกตไว้ในเรื่อง “สยามพากย์” เกี่ยวกับค� ำที่มีพยัญชนะต้นเป็น คล ว่า ...เสียง คล ควบกล�้ ำในค� ำ คลอ คลอก คลอง คล่อง แคล่ว คล้อง คลอน คล้อย คลาด คลาน คลี่ คลื่น คลุก เคลือบ ฯลฯ มักแสดงอาการเคลื่อนไหว หรือเคลื่อนคลาดที่ไม่เที่ยงหรือไม่บริสุทธิ์ ( วิทยาวรรณกรรม หน้า ๘๑๔) พระยาอนุมานราชธนรวบรวมค� ำคล้ายไว้จ� ำนวนมาก ปรากฏในจดหมายหลายฉบับที่ท่านเขียน กราบทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ข้อความในจดหมายบางฉบับเป็น แต่เพียงข้อสังเกต เช่น เบง ตะเบง ระเบง เปล่ง บรรเลง เพลง ล้วนมีความหมายไปในทางท� ำให้เกิดเสียงดังแทบทุกค� ำ ( บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๑ หน้า ๒๘๖)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=