สำนักราชบัณฑิตยสภา
เครื่ องมื อเปลี่ ยน ภาษาเปลี่ ยน 84 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 ความคิดเห็นต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ สื่อเหล่านี้เป็นของบริษัทต่าง ๆ ที่ให้บริการผ่านเว็บไซต์ของตน เช่น เฟซบุ๊ก (Facebook), ไฮไฟฟ์ (Hi5) ทวิตเตอร์ (Twitter), วิกิพีเดีย (Wikipedia) ฯลฯ (สาระน่ารู้ประจ� ำสัปดาห์, ฉบับที่ ๑๓ (วันสงกรานต์) : ๑๐-๑๖ เมษายน ๒๕๔๓ ส� ำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) กลุ่มบุคคลผู้ติดต่อสื่อสารกันโดยผ่านสื่อสังคม จัดได้ว่าเป็นเครือข่ายสังคม (social network) ซึ่งนอกจากจะส่งข่าวสารข้อมูลแลกเปลี่ยนกันแล้ว ยังอาจจะร่วมกันท� ำกิจกรรมที่สนใจด้วยกัน เช่น สนทนากันในเรื่องต่าง ๆ เลี้ยงรุ่นศิษย์เก่า บริจาคสิ่งของช่วยผู้ประสบอุทกภัย ภาษาที่ใช้กันในห้องสนทนา หรือห้องที่พูดคุยกัน (chat room) หรือที่เรียกว่า “ภาษาแช็ต” หรือ ภาษาของ “โลกไร้สาย” นอกจาก จะมีลักษณะเป็นภาษาเฉพาะกลุ่มแล้ว ยังได้รับอิทธิพลจากเครื่องมือที่ใช้อีกด้วย อิทธิพลของคอมพิวเตอร์ที่มีต่อภาษาเห็นได้ชัดที่ภาษาแช็ต (chat) ซึ่งผู้ใช้ป้อนผ่านแป้นอักขระ ที่พัฒนามาจากแป้นอักขระของเครื่องพิมพ์ดีดอีกทีหนึ่ง ภาษาแช็ต ภาษาแช็ต คือ รูปแบบการใช้ภาษาของโลกไร้สายที่เน้นการสนทนาแบบเป็นกันเอง มักเป็น ข้อความที่พิมพ์ผ่านแป้นอักขระคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ ภาษาแช็ตปรากฏอยู่ในห้องสนทนา ในสื่อสังคมอินเทอร์เน็ต และข้อความสั้นที่ส่งผ่านบริการ SMS
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=