สำนักราชบัณฑิตยสภา

83 นิ ตยา กาญจนะวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ด้วยความจ� ำเป็นที่ทางราชการทหารกับกรมรถไฟจะต้องใช้สัญญาณโทรเลขแบบเดียวกัน และกรมไปรษณีย์โทรเลขก็มีความจ� ำเป็นจะต้องใช้รหัสสัญญาณโทรเลขภาษาไทยในการรับส่งโทรเลข ของประชาชนภายในประเทศ รัฐบาลจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยฝ่ายกระทรวงกลาโหม ฝ่ายกรมรถไฟ และฝ่ายกรมไปรษณีย์โทรเลข พิจารณาจัดท� ำรหัสสัญญาณโทรเลขมอร์สภาษาไทย ขึ้นได้ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๕ แต่การจัดท� ำรหัสสัญญาณโทรเลขมอร์สภาษาไทยนี้ มิได้ก� ำหนดรหัสสัญญาณประจ� ำทุกตัวพยัญชนะและสระ หากพยัญชนะหรือสระตัวใดมีเสียงอ่านเหมือนกัน หรือคล้ายกันก็ก� ำหนดให้ใช้รหัสสัญญาณเหมือนกัน สมพล จันทร์ประเสริฐ ได้ให้ค� ำอธิบายไว้ว่าสัญญาณโทรเลขใช้รูปแบบสัญลักษณ์สั้นและยาว ที่ก� ำหนดขึ้นเป็นมาตรฐาน ซึ่งแทนด้วยเครื่องหมายจุด (.) และ เครื่องหมายขีด (-) ผสมกันเป็นความหมาย ของตัวหนังสือ ตัวเลข และเครื่องหมายพิเศษต่าง ๆ เช่น - - . = ก - . - . = ข - .- = ค ฆ . - - . . = พ ภ ด้วยข้อจ� ำกัดข้างต้น ค� ำในภาษาโทรเลขจึงอาจจะไม่ตรงกับที่ก� ำหนดไว้ในพจนานุกรม นอกจากนี้ เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ผู้ใช้บริการจึงพยายามเขียนให้สั้นที่สุดเท่าที่จะสื่อความได้ ภาษาโทรเลข จึงเป็นภาษาที่สั้นและห้วน เช่น “เกิดแล้ว ชาย” หมายความว่า “ลูกเกิดแล้ว เป็นเพศชาย” “เสียพาสีแล้ว” หมายความว่า “เสียภาษีแล้ว” “ตกลงไหม” “ค่ะ” ความหมายจะเป็นอย่างไร ผู้ส่งกับผู้รับเท่านั้นที่จะเข้าใจกันได้ “ส่งด่วน ๒ หมื่น” “พ่อป่วย กลับด่วน” เราจะได้เห็นลักษณะเช่นนี้ต่อไปในข้อความสั้นที่ส่งแบบ SMS คอมพิวเตอร์ เครื่องมือส� ำคัญที่มีอิทธิพลต่อภาษาไทยต่อจากโทรเลขก็คือ คอมพิวเตอร์ การท� ำงานของคอมพิวเตอร์อาจจะผ่านสายโทรศัพท์หรือไม่ผ่านก็ได้เพราะอาจจะรับส่งสัญญาณ ได้โดยตรงในแบบไร้สาย คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ใช้เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งท� ำหน้าที่เชื่อม เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งโลกเข้าด้วยกัน สิ่งที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต คือ แหล่งข้อมูล สารสนเทศอันมหาศาล มีการให้บริการประเภทต่าง ๆ เช่น อีเมล (ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์) อีบิซิเนส (ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์) รวม ทั้งการให้บริการสื่อสังคม (social media) ซึ่งเป็นสื่อกลางที่ให้บุคคลทั่วไปมีส่วนร่วมสร้างและแลกเปลี่ยน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=