สำนักราชบัณฑิตยสภา
81 นิ ตยา กาญจนะวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ลักษณะทางกายภาพของเครื่องพิมพ์ดีดมีผลต่อการเขียนค� ำไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากการ วางรูปสระและเครื่องหมายวรรณยุกต์ของภาษาไทยมิได้อยู่ในบรรทัดเดียวกันเหมือนภาษาอังกฤษ นอกจากข้อจ� ำกัดที่ได้กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ยังมีข้อจ� ำกัดที่ท� ำให้อักขระบางตัวไม่สามารถปรากฏ ร่วมกันได้ จึงท� ำให้ต้องตัดตัวหนึ่งออกไป นั่นก็คือ เมื่อเครื่องหมายไม้ไต่คู้ปรากฏร่วมกับเครื่องหมาย วรรณยุกต์ จ� ำเป็นต้องตัดเครื่องหมายไม้ไต่คู้ทิ้ง เช่น ค� ำว่า “เก่ง” ซึ่งออกเสียงสั้น กับ “เก้ง” ซึ่งออกเสียงยาว ไม่สามารถแสดงให้ต่างกันได้ เพราะไม้ไต่คู้ซึ่งก� ำกับเสียงสั้นของค� ำว่า “เก่ง” ถูกตัดทิ้ง แต่การแสดงข้อ แตกต่างระหว่าง ๒ ค� ำนี้สามารถแสดงได้ในการพิมพ์แบบเก่า เช่น ในพจนานุกรม สัพะ พะจะนะ พาสาไท ซึ่งค� ำว่า “เก่ง” มีไม้ไต่คู้ก� ำกับ ส่วนไม้เอกวางไว้เหนือไม้ไต่คู้อีกทีหนึ่ง ที่เป็นเช่นนี้เพราะภาษาไทยต้องใช้จ� ำนวนบรรทัดเพื่อแสดงตัวอักขระถึง ๔ ชั้น คือ สระล่าง (อุ อู) อยู่ชั้นที่ ๑ พยัญชนะ สระหน้า (เอ แอ โอ) และสระหลัง (อะ อา) อยู่ชั้นที่ ๒ สระบน (อิ อี อึ อื) อยู่ชั้นที่ ๓ และเครื่องหมายวรรณยุกต์ และไม้ไต่คู้ อยู่ชั้นที่ ๔ เครื่องหมายวรรณยุกต์จึงปรากฏร่วมกับไม้ไต่คู้ไม่ได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=