สำนักราชบัณฑิตยสภา
เครื่ องมื อเปลี่ ยน ภาษาเปลี่ ยน 80 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมท� ำด้วยไม้วิธีพิมพ์ต้องหมุนแป้นคล้ายหน้าปัดนาฬิกา เมื่อพบตัวอักษรที่ต้องการ จะพิมพ์แล้วก็กดลงไปบนกระดาษ ใน พ.ศ. ๒๓๗๖ ชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องเขียนหนังสือส� ำหรับ คนตาบอดขึ้นมา ประกอบด้วยที่รวมแป้นอักขระ เมื่อเคาะลงไปบนแป้นอักขระจะดีดก้านอักษรตีไปที่ จุดศูนย์กลางของเครื่องอันเป็นแบบของเครื่องพิมพ์ดีดในปัจจุบัน หลังจากนั้นก็มีนักประดิษฐ์คิดค้นสร้าง เครื่องพิมพ์ดีดให้ดีขึ้น และได้น� ำไปจดทะเบียนไว้ที่ส� ำนักงานสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกาอย่างมากมาย ในขณะที่สหรัฐอเมริกาก� ำลังประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ดีดภาษาอังกฤษขึ้นมานั้น เอ็ดวิน แม็กฟาร์แลนด์ (Edwin McFarland) เลขานุการส่วนพระองค์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด� ำรง ราชานุภาพ ก็มีแนวความคิดที่จะดัดแปลงเครื่องพิมพ์ดีดภาษาอังกฤษมาเป็นเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย เนื่องจากภาษาไทยมีสระและวรรณยุกต์มากกว่าภาษาอังกฤษ จึงต้องใช้เครื่องพิมพ์ดีดชนิดที่มีแป้นอักขระ มากกว่าชนิดอื่น ๆ และในที่สุดก็เลือกได้ยี่ห้อสมิทพรีเมียร์ (Smith Premier) ของบริษัทเรมิงตัน เขาได้เข้า ฝึกงานที่โรงงานที่สร้างเครื่องพิมพ์ดีดยี่ห้อนี้ และได้ช่วยคิดค้นวางตัวอักษร สระ วรรณยุกต์ ทั้งหมดลงใน เครื่องพิมพ์ภาษาไทยได้แต่เนื่องจากแป้นอักขระมีจ� ำนวนจ� ำกัดจึงจ� ำเป็นต้องตัดตัวอักษรออก ๒ ตัว คือ ฃ ฅ ใน พ.ศ. ๒๔๖๕ น้องชายของเอ็ดวิน แม็กฟาร์แลนด์ คือ ยอร์ช บี. แม็กฟาร์แลนด์ (Dr. George B. McFarland) หรือ พระอาจวิทยาคม ได้กลับไปพักผ่อนที่สหรัฐอเมริกา และได้ให้ความรู้เรื่องภาษาไทย จนบริษัทเรมิงตันสามารถผลิตเครื่องพิมพ์ดีดชนิดกระเป๋าหิ้วรูปร่างเล็กกะทัดรัดที่ใช้พิมพ์ภาษาไทย ขึ้นมาได้ แต่ก็ยังมีข้อบกพร่อง เพราะการพิมพ์ขัดกับการเขียน เช่น ตัว ฝ จะต้องพิมพ์ ผ แล้วต่อหาง เอาเอง ค� ำว่า “กิน” ต้องพิมพ์สระ อิ ก่อนแล้วจึงพิมพ์ ก และ น ใน พ.ศ. ๒๔๖๗ พระอาจวิทยาคม จึงได้ร่วมปรึกษาและค้นคว้ากับพนักงานของบริษัท ๒ คน คือ สวัสดิ์ มากประยูร และ สุวรรณประเสริฐ (กิมเฮง) เกษมณี โดย สวัสดิ์ มากประยูร เป็นวิศวกรออกแบบประดิษฐ์ตัวอักษร ส่วน สุวรรณประเสริฐ (กิมเฮง) เกษมณี ท� ำหน้าที่ฝ่ายวิชาการออกแบบวางแป้นอักขระ โดยวิเคราะห์จากค� ำที่ใช้บ่อย ๑๖๗,๔๕๖ ค� ำ จากหนังสือ ๓๘ เล่ม ใช้เวลา ๗ ปี จึงสามารถวางแป้นอักขระใหม่ได้ส� ำเร็จ ใน พ.ศ. ๒๔๗๔ สามารถพิมพ์ได้ถนัดที่สุดและรวดเร็วที่สุด ให้ชื่อว่า “แบบเกษมณี” ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ และได้ดัดแปลง มาใช้กับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้ด้วย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=