สำนักราชบัณฑิตยสภา
79 นิ ตยา กาญจนะวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ หนังสือจีนที่เขียนแบบเดียวกัน แต่อ่านต่างกันในแต่ละถิ่น คนจีน ทั่วโลกจึงสามารถสื่อกันด้วยภาษาเขียนได้ โดยไม่จ� ำเป็นต้องอ่านเหมือนกัน แม้แต่ภาษาอื่นที่น� ำเอา หนังสือจีนไปดัดแปลงก็ยังรักษาเค้าเดิมไว้ จนสามารถเดาได้ว่าตัวหนังสือนั้น ๆ หมายความว่าอย่างไร เช่น ตัวหนังสือที่มีความหมายว่า “ภูเขา” ไม่ว่าจะเขียนในภาษาจีนหรือภาษาญี่ปุ่นก็สามารถเข้าใจได้ แต่ไม่จ� ำเป็นต้องอ่านเหมือนกัน อย่างไรก็ตามอาจจะมีการน� ำตัวหนังสือบางตัวมาดัดแปลงรูปเขียนให้ง่ายลงบ้างก็ได้ ซึ่งเหตุผล เบื้องหลังอาจจะเป็นทั้งในด้านการสื่อสารหรือด้านการเมือง พิมพ์ดีด ความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เกิดขึ้นเมื่อมีพิมพ์ดีด ซึ่งมีข้อจ� ำกัดยิ่งกว่าการสร้าง ตัวพิมพ์ เพราะคราวนี้ขึ้นอยู่กับ “ก้านตัวอักษร” ที่มี จ� ำนวนจ� ำกัด ในภาษาอังกฤษเองถึงแม้จะมีตัวอักษรใช้ เพียง ๒๖ ตัว แต่ก็มีทั้งตัวเล็กตัวใหญ่และเครื่องหมาย วรรคตอนต่าง ๆ จึงต้องอาศัยเทคนิคการกดแป้นเพื่อเลือก ตัวบนตัวล่างจึงสามารถใช้ได้ เครื่องพิมพ์ดีดเครื่องแรกผลิตขึ้นที่ประเทศ อังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๗ โดยวิศวกรชื่อ เฮนรี มิลล์ (Henry Mill) ใช้ชื่อว่า “WRITING MACHINE” สามารถ เขียนหนังสือได้สะดวกรวดเร็วและเป็นระเบียบเรียบร้อย ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๗๒ วิลเลียม ออสติน เบิร์ต (William Austin Burt) ชาวอเมริกัน ได้ประดิษฐ์เครื่องเขียน หนังสือขึ้นอีกแบบหนึ่งโดยใช้ชื่อว่า “Typographe”
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=