สำนักราชบัณฑิตยสภา

77 นิ ตยา กาญจนะวรรณ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ การพิมพ์ ความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของวงการภาษาเกิดขึ้นเมื่อมีระบบการพิมพ์ เพราะเกิดการบังคับ ให้ตัวอักษรอยู่ในรูปแบบเดียวกันด้วยการสร้างตัวพิมพ์ขึ้นมา ถึงแม้ว่าตัวพิมพ์จะมีหลายแบบ แต่ก็ยังถือ ได้ว่าผู้ใช้ภาษาไม่ได้เขียนเองแต่มีการเลือกจากรูปแบบต่าง ๆ ที่มีผู้อื่นก� ำหนดไว้ให้ จากชีวิต “อัตนัย” คือต่างคนต่างเขียนก็ต้องเปลี่ยนมาเป็นชีวิต “ปรนัย” ที่ต้องเลือก แต่ยังดีที่ตัวเลือกมิได้จ� ำกัดอยู่เพียง ๔ หรือ ๕ ตัวดังในข้อสอบ เมื่อมีตัวพิมพ์แล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือการก� ำหนดวิธีเขียนค� ำ และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ถือได้ว่าเป็น “มาตรฐานกลาง” ในด้านลบก็คือการท� ำลายความหลากหลายของการเขียนค� ำ ซึ่งถือว่าเป็นเสรีภาพอย่าง หนึ่ง บางคนอาจจะไปไกลถึงขนาดกล่าวหาว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ในแง่บวกก็คือการสร้าง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในด้านการเขียน ท� ำให้สามารถสื่อกันได้ในหมู่ผู้ใช้ภาษาเดียวกัน แต่ต่างถิ่นกัน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=