สำนักราชบัณฑิตยสภา

เครื่ องมื อเปลี่ ยน ภาษาเปลี่ ยน 76 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 ข้อจ� ำกัดอย่างหนึ่งของก้อนหินก็ คือ เมื่อจารึกตัวอักษรลงไปแล้วไม่สามารถ จะถอยหลังหรือลบออกได้ หากที่ว่างมีไม่ พอจะบรรจุค� ำทั้งค� ำลงไปได้ ก็ต้องยกส่วน ที่เหลือไปจารึกในบรรทัดต่อไป เช่น ค� ำว่า “ที่หมาย” อาจจะจบลงที่สระอา กลายเป็น “ที่หมา” แล้วยกเอา “ย ยักษ์” ไปจารึก ในบรรทัดต่อไป ลักษณะเช่นนี้ได้กลับมา ปรากฏอีกครั้งเมื่อเครื่องมือเปลี่ยนไปเป็น คอมพิวเตอร์ เมื่อใช้โปรแกรมประมวลค� ำ ที่ยังไม่สามารถแยกค� ำได้เต็มร้อย อาจจะ มีค� ำถามว่าถ้าจารึกตกหล่นจะท� ำอย่างไร เท่าที่ค้นพบมีจารึกบางหลักที่มีการแทรก เครื่องหมาย “จารึกตก” เอาไว้ด้วย ที่ท� ำได้ ก็เพราะคนจารึกสามารถหาช่องว่างใกล้ ๆ แล้วเติมลงไปได้ ต่ อมาเมื่อมีการใช้ ใบลานหรือ สมุดด� ำ การเรียงล� ำดับอักษรก็น่าจะอยู่ใน ท� ำนองเดียวกันกับศิลาจารึกคือ เขียนแล้ว เขียนเลย ถอยหลังไม่ได้ สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัด ว่าเครื่องมือมีอิทธิพลต่อภาษาก็คือ รูปตัว อักษรที่จารลงบนใบลานจะเป็นรูปโค้ง ๆ ด้วยเหตุผลง่าย ๆ ก็คือ ถ้าขีดเป็นเส้นตรง ใบลานจะขาด ส่วนตัวอักษรที่อยู่ในสมุดด� ำ นั้นจะวาดลวดลายให้สวยงามอย่างไรก็ได้ แล้วแต่ฝีมือของผู้เขียน ส่วนภาษานั้นก็เป็น ไปตามมาตรฐานของแหล่งนั้น ๆ ซึ่งไม่ใช่ มาตรฐานกลางดังในปัจจุบัน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=