สำนักราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ เครื่องมือเปลี่ยน ภาษาเปลี่ยน * นิตยา กาญจนะวรรณ ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน บทคัดย่อ บทความนี้ชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของภาษาอันเกิดจากเครื่องมือที่ใช้ในการบันทึก และส่งภาษา ตั้งแต่ศิลาจารึก การพิมพ์ พิมพ์ดีด โทรเลข จนถึงคอมพิวเตอร์ ค� ำส� ำคัญ : ศิลาจารึก การพิมพ์ พิมพ์ดีด โทรเลข คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต * ปรับปรุงจากการบรรยายทางวิชาการในที่ประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ บทน� ำ ดูเหมือนว่าทั้งนักภาษาศาสตร์และครูภาษาไทยต่างก็ยอมรับกันแล้วว่าภาษามีการเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับทุกสิ่งทุกอย่างในโลก แต่ถึงแม้จะเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ต้องมีสิ่งที่เรียกว่า “มาตรฐาน” เพื่อ เชื่อมโยงความหลากหลายของภาษา สิ่งที่ต้องเรียนกันก็คือ “มาตรฐาน” ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับภาษาแม่ของตน อย่างไรก็ตาม “มาตรฐาน” ก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยด้วย คนในยุคนี้ย่อมใช้ภาษาไม่เหมือนกับ สมัยสุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ตอนต้น หรือแม้แต่ภาษาเมื่อร้อยปี เมื่อห้าสิบปี หรือ แม้แต่เมื่อยี่สิบปี มาแล้ว ความรวดเร็วของการสื่อสารในปัจจุบันอาจจะท� ำให้ “มาตรฐาน” เปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วเกินกว่า ความคาดคิดของหลาย ๆ คนก็ได้ นอกจากความเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติดังกล่าวแล้ว ก็ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เข้ามามีอิทธิพลต่อภาษา ด้วย นั่นก็คือ “เครื่องมือที่ใช้ในการบันทึกและส่งต่อภาษา” ศิลาจารึก ในสมัยที่มนุษย์ใช้ก้อนหินจารึกภาษานั้นอาจจะกล่าวได้ว่าภาษาที่ใช้น่าจะเป็นภาษามาตรฐาน ของสมัยนั้น เพราะ “หิน” คือเครื่องมือของชนชั้นปกครองหรือผู้มีอ� ำนาจในสมัยนั้น ไม่ใช่เครื่องมือของ ประชาชนทั่วไป ศิลาจารึกจึงเป็นเพียงเครื่องมือส่งสารไปสู่ผู้ใช้ภาษาเท่านั้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=