สำนักราชบัณฑิตยสภา

71 โชษิ ตา มณี ใส วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ เพื่อนทุกข์สุขโศกเศร้า จะรักเจ้าเฝ้าสงวน มิ่งขวัญอย่ารัญจวน นวลภักตร์น้องจะ หมองศรี ชวนชื่นกลืนกล�้ ำกลิ่น มิรู้สิ้นกลิ่นมาลี คลึงเคล้าเย้ายวนยี ที่ทุกข์ร้อนหย่อนเย็นทรวง “บทอัศจรรย์” นี้นับว่าเป็นเครื่องหมายแทนการมอบความรักของสามีแด่ภรรยา ประเด็นที่น่าพินิจก็คือ ตัวบทตอนที่เป็นบทอัศจรรย์นี้ยาวมากพอสมควร กล่าวถึงเหตุการณ์ อลวนอลเวง น่าตื่นเต้น เช่น แดนดินถิ่นมนุษย์ เสียงดังดุจเพลิงโพลง ตึกกว้านบ้านเรือนโรง โคลงคลอนเคลื่อน ขะเยื่อนโยน บ้านช่องคลองเล็กใหญ่ บ้างตื่นไฟตกใจโจน ปลุกเพื่อนเตือนตะโกน ลุกโลดโผน โดนกันเอง พิณพาทย์ระนาดฆ้อง ตะโพนกลองร้องเป็นเพลง ระฆังดังวังเวง โหง่งหง่างเหง่ง เก่งก่างดัง ขุนนางต่างลุกวิ่ง ท่านผู้หญิงวิ่งยุดหลัง พันละวันดันตึงตัง พลั้งพลัดตกหกคะเมน พระสงฆ์ลงจากกุฎิ วิ่งอุดตลุดฉุดมือเณร หลวงชีหนีหลวงเถร ลงโคลนเลนเผ่นผาดโผน ฯลฯ แม้ผู้แต่งจะซ่อนความหมายลึกซึ้งของ “บทอัศจรรย์” ไว้อย่างแนบเนียน แต่บางแห่งก็ค่อนข้าง แจ่มแจ้งจนน่าจะเป็นภาระแก่ผู้สอนในการอธิบาย เช่น ตอนท้าย ที่ว่า พวกผีที่ปั้นลูก ติดจมูกลูกตาพลัน ขิกขิกรริกกัน ปั้นไม่ทันมันเดือดใจ สององค์ทรงสังวาส โลกธาตุหวาดหวั่นไหว ตื่นนอนอ่อนอกใจ เดินไม่ได้ให้อาดูร น่าสงสัยว่าเมื่อผู้แต่งมีจุดประสงค์จะแต่งให้เด็กอ่านเหตุใดจึงมีบทนี้เต็ม ๆ แม้จะมีค� ำตอบว่า เป็นส่วนหนึ่งของบทสัญนิยม แต่บทนี้อาจละไปก็ได้หรือกล่าวโดยย่นย่อก็ได้ เมื่อปรากฏเป็นบทเต็มมี ขนาดยาว ย่อมมีผลต่อความสนใจ เด็กที่อ่านจะปราศจากข้อกังขาทีเดียวหรือว่าเนื้อเรื่องตอนนี้เป็น เหตุการณ์อะไร สัมพันธ์กับเหตุการณ์ก่อนหน้านี้อย่างไร ค� ำกลบเกลื่อนว่า “วันนั้นครั้นดินไหว เกิดเหตุ ใหญ่ในปะถะพี เล็งดูรู้คะดี กาลกิณีสี่ประการ” เป็นค� ำตอบให้หายสงสัยหรือไม่ ในเมื่อ “กาลกิณีสี่ประการ” ไม่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ในบทอัศจรรย์ น่าขบคิดว่าเหตุใดจึงมีการปรากฏและให้น�้ ำหนักแก่บทอัศจรรย์ในหนังสือส� ำหรับเด็ก ทั้งเสนอ แนวคิดที่ว่าการมอบบทรักคือการมอบความรัก การแสดงบทรัก ตลอดจนความเชื่อเรื่องผีปั้นลูกในระหว่าง ที่หญิงชายแสดงบทรัก การเสนอสิ่งเหล่านี้ในหนังสือสอนเด็กเหมาะสมหรือไม่ หากว่าไม่เหมาะสม เหตุใด พระยาศรีสุนทรโวหารจึงน� ำเรื่องนี้ไปไว้ใน มูลบทบรรพกิจ หากว่าเหมาะสม จะพิจารณาว่าบทอัศจรรย์นี้ ใช้สอนเพศศึกษาแก่เด็กใช่หรือไม่ หากว่าใช่ก็นับว่าเป็นความคิดก้าวหน้ามาก หากว่าไม่ใช่ก็นับว่าวรรณคดี เรื่องนี้มีลักษณะเหมือนวรรณคดีไทยแต่เดิมมาที่มักไม่สู้ให้ความส� ำคัญอย่างแท้จริงแก่เด็กในฐานะผู้เสพ คือ ยังคงสื่อสารกับผู้ใหญ่

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=