สำนักราชบัณฑิตยสภา
65 โชษิ ตา มณี ใส วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ กาพย์ของสุนทรภู่มีลีลาอ่อนหวานไพเราะ เป็นแบบแผนสืบมาถึงปัจจุบัน เมื่อครั้งพระยาอุปกิต ศิลปสารแต่งหนังสือ หลักภาษาไทย ภาคฉันทลักษณ์ ได้ยกค� ำประพันธ์จากเรื่อง กาพย์พระไชยสุริยา เป็น ตัวอย่างตอนที่กล่าวถึงกาพย์ทั้ง ๓ ชนิดนี้ สอนวิธีการประพันธ์ วรรณคดีสมัยอยุธยาประเภทนิยายนิทานได้สถาปนาขนบการแต่งหนังสือสืบมา โดยจะปรากฏบท สัญนิยม เช่น บทไหว้ครู บทพรรณนาสภาพบ้านเมือง บทพรรณนาธรรมชาติ ได้แก่ พรรณไม้ สิงสาราสัตว์ ต่าง ๆ บทรบ บทรัก มีการสร้างสรรค์อรรถรสหลากหลายทั้งรสรัก สงสาร ตื่นเต้น โกรธ เกลียด อัศจรรย์ และสงบสุขศานต์ กาพย์พระไชยสุริยา เป็นเรื่องเล่าสั้น ๆ มีโครงเรื่องเดี่ยว ปมเรื่องอยู่ตรงการที่ผู้คนในเมืองพากัน ประพฤติผิดจึงถูกธรรมชาติลงโทษให้ประสบความวิบัติ ตัวละครเอกเป็นคนดีจึงรอดชีวิต บ� ำเพ็ญพรตแล้ว ได้ไปเกิดในสวรรค์ เมื่อแต่งเป็นเรื่องหนังสือ ผู้แต่งได้แทรกบทสัญนิยมต่าง ๆ ลงไว้ตามที่ควรแก่เนื้อเรื่อง ให้อรรถรสหลากหลาย เช่น ความน่าหวั่นกลัว น่าสลดใจของสภาพสังคมที่ใกล้หายนะ ความตื่นตระหนก ของผู้คนที่ประสบมรณภัย ความว้าเหว่ไม่รู้ชะตากรรมของผู้คนที่ประสบภัย ความเพลิดเพลินกับธรรมชาติ ที่เป็นมิตร ความอัศจรรย์ปาฏิหาริย์ ความร่มเย็นใจจากการที่ได้รับค� ำชี้แนะให้ปฏิบัติตนจนประสบความสุข อรรถรสเหล่านี้สร้างเสริมคุณค่าความเป็นวรรณคดีให้ กาพย์พระไชยสุริยา ในการประกอบสร้างเรื่องราว เพื่อให้หนังสือมีคุณค่าสาระน่าอ่าน น่าสนใจ ผู้แต่งมีความรู้ กว้างขวาง สามารถน� ำข้อมูลความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาประสานและสอดแทรกเป็นรายละเอียดได้อย่าง สอดคล้องกลมกลืน ดังเช่นในเรื่องนี้ สุนทรภู่น� ำเรื่องน�้ ำท่วมโลก จาก คัมภีร์ปุราณะ ของอินเดียและต� ำนาน ของน�้ ำท่วมโลกของชาวตะวันตกมาเสนอในเนื้อเรื่องช่วงต้น และน� ำเค้าความจาก มหาสุบินชาดก ในอรรถ กถาชาดกขุททกนิกาย เอกกนิบาต วรุณวรรค มาใช้ในเนื้อเรื่องส่วนที่เหลือคือ พระดาบสกล่าวถึงความเสื่อม ของโลก พระดาบสเทศน์โปรดตัวเอกของเรื่อง ๖ ในแง่รายละเอียด ตอนแรกเริ่มที่กล่าวถึงเมืองสาวัตถี ๖ มหาสุบินชาดก มีเนื้อหาในปรารภกถาว่าด้วยเรื่องของพระเจ้าปเสนทิแห่งแคว้นโกศลทรงพระสุบิน ๑๖ ประการ ตรัสเล่าให้ปุโรหิต อมาตย์ ราชเสวกฟัง คนเหล่านั้นเป็นพวกทุจริต เห็นเป็นช่องทางที่จะกอบโกยผลประโยชน์จึงทูลว่าพระสุบินนิมิตจะเป็นอันตรายแก่พระองค์ ให้แก้ไขด้วยการท� ำมหายัญกรรม คราวนั้นสัตว์ทั้งหลายถูกท� ำลายชีวิตเป็นอันมาก พระนางมัลลิกาทูลแนะน� ำให้พระเจ้าปเสนทิเสด็จไป เฝ้าพระบรมศาสดา ทูลเล่าพระสุบินให้ทรงท� ำนาย พระพุทธองค์ทรงท� ำนายพระสุบิน ๑๖ ประการ และตรัสว่าสิ่งต่าง ๆ ที่ทรงท� ำนาย จะเกิดขึ้นภายหน้าเมื่อโลกถึงจุดเสื่อม ในรัชกาลของพระราชาที่มิได้ตั้งมั่นในธรรม มิใช่เกิดขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าปเสนทิ และตรัสเทศนา เรื่องมหาสุบินชาดกว่า ในอดีตกาลมีพระราชาทรงพระสุบินเช่นนี้เหมือนกัน ได้ไปเฝ้าพระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นดาบส พระดาบสโพธิสัตว์ได้กล่าว ถ้อยค� ำท� ำนายเช่นเดียวกันกับพระพุทธองค์ และขอให้เลิกการท� ำยัญพิธี (ปสุฆาตยัญ) เพราะผลแห่งสุบินจะยังมิได้มีในกาลนั้น พุทธท� ำนาย ในมหาสุบินชาดกมีผู้น� ำไปแต่งเป็น เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=