สำนักราชบัณฑิตยสภา

63 โชษิ ตา มณี ใส วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ๖. ตอนพระดาบสเข้าฌานทราบความเป็นไปในโลก ใช้อ่านเทียบแม่ กบ ดังนี้ ขึ้นกบจบแม่กด พระดาบศบูชากูณฑ์ ผาศุกรุกขมูล ภูลสวัสดิสัถาวร ระงับหลับ เนตรนิ่ง เอนองค์อิงพิงสิงฃร เหมือนกับหลับสนิทนอน สังวรศีลอภิญญาณ ฯลฯ ๗. ตอนพระดาบสเทศน์โปรดพระไชยสุริยา ใช้อ่านเทียบแม่ กม ดังนี้ ขึ้นกมสมเด็จจอมอารย์ เอ็นดูภูบาล ผู้ผ่านภาราสาวัดถี ซื่ตรงหลงเล่ห์เสนี กลอก กลับอัปรี บุรีจึงล่มจมไป ประโยชน์จะโปรดภูวไนย์ นิ่งนั่งตั้งใจ เลื่อมใสส� ำเร็จเมตตา ฯลฯ ๘. ตอนพระไชยสุริยาบ� ำเพ็ญเพียรจนได้ไปสวรรค์ ใช้อ่านเทียบแม่ เกย ดังนี้ ขึ้นเกยเลยกล่าวท้าวไทย์ ฟังธรรมน�้ ำใจ เลื่อมใสศรัทธากล้าหาญ เห็นไภยใน ขันธสันดาน ตัดห่วงบ่วงมาร ส� ำราญส� ำเร็จเมตตา สององค์ทรงหนังพยัคฆา จัดจีบกลีบชะฎา รักษาศีลถือฤๅษี เช้าค�่ ำท� ำกิจพิธี กองกูณฑ์อัคคี เป็นที่บูชาถาวร ฯลฯ อย่างไรก็ดี แม้ตัวบทแต่ละตอนจะมีจุดประสงค์ใช้อ่านเทียบค� ำที่มีตัวสะกดเฉพาะแม่ใดแม่หนึ่ง แต่แท้จริงแล้วส่วนใหญ่มิได้เปล่าปลอดจากการใช้ค� ำที่มีตัวสะกดแม่อื่น ทว่าแสดงค� ำที่ใช้แม่ตัวสะกดตาม ที่ก� ำหนดไว้มากบ้างน้อยบ้าง ที่แสดงไว้มากจนเห็นได้ชัด ได้แก่ ตอนที่ใช้อ่านเทียบแม่ ก กา แม่ กน แม่ กง ส่วนที่แสดงไว้น้อยที่สุดได้แก่ตอนที่ใช้อ่านเทียบแม่ กด ซึ่งดูจะเน้นเนื้อหามากกว่าแสดงค� ำที่ใช้ตัวสะกด แม่ดังกล่าว หากใช้วรรณคดีเรื่องนี้อ่านเทียบแม่ตัวสะกด ผู้สอนจะต้องมีบทบาทในการชี้แนะอย่างมากเพื่อ แยกแยะให้เห็น เพราะวิธีแต่งของสุนทรภู่ต่างจากกลบทบังคับแม่ตัวสะกดใน ศิริวิบุลกิตติ์ คือไม่เคร่งครัด ว่าแต่ละตอนจะต้องแสดงเฉพาะค� ำที่มีตัวสะกดตามแม่ที่ก� ำหนดไว้เท่านั้น แต่ กาพย์พระไชยสุริยา มี ข้อดีได้แก่ความสมบูรณ์ กล่าวคือสุนทรภู่แสดงไว้ครบทุกแม่ตัวสะกด ตั้งแต่แม่ ก กา ถึงแม่ เกย ขณะที่ ศิริวิบุลกิตติ์ ไม่มีบังคับตัวสะกดแม่ เกย สอนลักษณะค� ำประพันธ์ เรื่อง กาพย์พระไชยสุริยา แต่งด้วยกาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ ซึ่งเป็นค� ำ ประพันธ์ที่แต่งได้ง่าย หากจะให้เด็กซึมซับสุนทรียภาพของบทร้อยกรองและหัดแต่ง ก็ควรเริ่มที่กาพย์ ๓ ชนิดนี้ก่อน ในวรรณคดีเรื่องนี้ สุนทรภู่ได้เสนอลักษณะไพเราะของกาพย์ไว้เป็นแบบอย่างทั้ง ๓ ชนิด ลักษณะไพเราะตามแบบสุนทรภู่คือการโยงสัมผัสเชื่อมตรงจังหวะตก (ซึ่งส่วนมากเป็นสัมผัสสระ) ในวรรค นอกวรรคทุกแห่ง ท� ำให้เกิดเสียงสัมผัสลื่นไหลต่อเนื่อง และการรับส่งสัมผัสในต� ำแหน่งที่แน่นอนทุกแห่ง ท� ำให้ค� ำประพันธ์มีจังหวะราบรื่นคงที่สม�่ ำเสมอ ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=