สำนักราชบัณฑิตยสภา

61 โชษิ ตา มณี ใส วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ผู้เขียนเคยศึกษาและตั้งข้อสันนิษฐานว่า พระศรีมโหสถอาจจะแต่ง โคลงอักษรสามหมู่ เพื่อใช้ อ่านเทียบเรื่องการผันอักษรสามหมู่ใน จินดามณี แม้ไม่ปรากฏข้อมูลระบุชัดเจน แต่เข้าใจว่าในทางปฏิบัติ โคลงอักษรสามหมู่ น่าจะเป็นวรรณกรรมเรื่องหนึ่งที่ใช้เป็นแบบอย่างศึกษาสืบทอดกันมา และสุนทรภู่ ก็คงจะได้ศึกษาแล้ว ดังที่ โคลงนิราศสุพรรณ ของสุนทรภู่ ปรากฏโคลงกลบทชื่อ อักษรสามซึ่งมีลักษณะ เช่นเดียวกับ โคลงอักษรสามหมู่ ของพระศรีมโหสถ นอกจากนี้ยังสันนิษฐานว่าการที่สุนทรภู่แต่ง กาพย์ พระไชยสุริยา เพื่อเป็นหนังสืออ่านเทียบ โดยใช้ศิลปะการประพันธ์ประเภทกลบทนั้น น่าจะได้ความคิดจาก โคลงอักษรสามหมู่ ของพระศรีมโหสถนี่เอง ๔ กล่าวให้ชัดเจนก็คือ ขณะที่ โคลงอักษรสามหมู่ ใช้ส� ำหรับ อ่านเทียบเรื่องการผันอักษร กาพย์พระไชยสุริยา ก็ใช้ส� ำหรับอ่านเทียบเรื่องแม่ตัวสะกด และขณะที่ โคลงอักษรสามหมู่ ใช้ศิลปะการประพันธ์ประเภทกลบทบังคับเสียงวรรณยุกต์ กาพย์พระไชยสุริยา ใช้กลบทบังคับแม่ตัวสะกด ซึ่งมีแบบอย่างอยู่วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย เรื่อง ศิริวิบุลกิตติ์ สุนทรภู่แต่ง กาพย์พระไชยสุริยา โดยใช้กาพย์ ๓ ชนิด ได้แก่ กาพย์ยานี กาพย์ฉบังและกาพย์ สุรางคนางค์ การแต่งวรรณคดีด้วยกาพย์ทั้ง ๓ ชนิดนี้นิยมมากในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยใช้กับ เรื่องที่มีเนื้อหาในเชิงสั่งสอนคุณธรรมจริยธรรม วรรณคดีประเภทนี้เรียกว่า กลอนสวด นับว่าสุนทรภู่ เลือกใช้ค� ำประพันธ์ได้สอดคล้องกับลักษณะของประเภทวรรณคดี (genre) เนื่องจาก กาพย์พระไชยสุริยา นั้นมีลักษณะเนื้อหาซึ่งอาจจัดเป็นวรรณคดีค� ำสอน เพราะกล่าวว่าหากผู้คนไร้คุณธรรมจริยธรรมบ้านเมือง จะวิบัติ ผู้คนจะประสบทุกข์ภัยใหญ่หลวง และแนะวิธีปฏิบัติตนให้ประสบความสุข กาพย์พระไชยสุริยาในฐานะสื่อการเรียนการสอน สอนอักขรวิธี การสอนหนังสือไทยเริ่มที่ นะโม คือ นโมพุทธายสิทธํ แล้วเริ่มเรียนรู้สระ ๒๐ ตัว เป็นหัวข้อแรก ต่อมาคือเรียนรู้พยัญชนะ ก ข การผันอักษร การแจกแม่ตัวสะกด ตามล� ำดับ ๕ หนังสือ กาพย์พระไชย สุริยา ที่สุนทรภู่ระบุว่าแต่งขึ้นเพื่อใช้อ่านเทียบเรื่องการแจกแม่ตัวสะกดนั้นได้บรรลุจุดประสงค์ของผู้แต่ง อย่างเป็นทางการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้พระยา ศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) แต่งหนังสือแบบเรียนชุด ภาษาไทย เพื่อใช้ในโรงเรียนหลวงที่ทรง ตั้งขึ้น (พ.ศ. ๒๔๑๔) พระยาศรีสุนทรโวหารได้น� ำ กาพย์พระไชยสุริยา ไปใช้ส� ำหรับอ่านเทียบเรื่องการแจก แม่ตัวสะกด โดยปรากฏอยู่ใน มูลบทบรรพกิจ ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกของแบบเรียนชุดนี้ ๔ โชษิตา มณีใส, “โคลงอักษรสามหมู่ของพระศรีมโหสถ : ฉันทลักษณ์วินิจ,” วารสารราชบัณฑิตยสถาน, ๓๐ (มกราคม- มีนาคม ๒๕๔๘), หน้า ๑๗๖-๑๘๖. ๕ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร), “วิธีสอนหนังสือไทย” ใน มูลบทบรรพกิจ ชุดหนังสือ ภาษาไทย.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=