สำนักราชบัณฑิตยสภา
พิ นิ จกาพย์พระไชยสุริ ยาของสุนทรภู่ 60 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 บันดาลของพระเจ้าหรือเทพเจ้าเพื่อลงโทษ แต่จะมีมนุษย์ผู้หนึ่ง (ซึ่งเป็นคนดี) พร้อมครอบครัวและสัตว์ จ� ำนวนหนึ่งรอดชีวิต เพราะได้รับการเตือนล่วงหน้าให้จัดหาพาหนะประเภทเรือหรือแพส� ำหรับอยู่อาศัย ในระหว่างที่เกิดน�้ ำท่วม ครั้นน�้ ำลดมีการส่งนกไปส� ำรวจแผ่นดิน เมื่อแผ่นดินแห้งแล้วมนุษย์และสัตว์ เหล่านี้ก็สืบเผ่าพันธุ์ต่อมา ๑ เรื่องน�้ ำท่วมโลกและสาเหตุที่ว่าเป็นเพราะผู้มีอ� ำนาจเหนือมนุษย์ต้องการลงโทษมนุษย์ที่ พากันประพฤติบาปตามที่เล่าขานกันในต� ำนานสากลนั้นปรากฏในวรรณคดีไทยเช่นกัน นั่นคือ กาพย์ พระไชยสุริยา ของสุนทรภู่ ที่มีเนื้อเรื่องกล่าวถึงเมืองสาวัตถีของพระไชยสุริยาประสบอุทกภัยพินาศล่มจม เพราะผู้คนในเมืองพากันประพฤติผิดบาปเบียดเบียนกัน ผู้แต่งน� ำเรื่องน�้ ำท่วมโลกผสานกับพุทธท� ำนาย อันมีมาใน นิบาตชาดกเรื่องมหาสุบิน แต่งเป็นหนังสือเทียบส� ำหรับการเรียนเรื่องแม่ตัวสะกดในวิชา ภาษาไทย อย่างไรก็ดี กาพย์พระไชยสุริยา มีแง่มุมน่าพินิจหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตีความ ตัวบทเชื่อมโยงกับบริบททางสังคมจะช่วยเพิ่มมิติความลึกซึ้งน่าใส่ใจพิจารณามากกว่าที่เคยศึกษากันมา ความเป็นมาของหนังสือเรื่อง กาพย์พระไชยสุริยา กาพย์พระไชยสุริยา เป็นวรรณคดีค� ำกาพย์ที่สุนทรภู่แต่งขึ้นระหว่างบวชอยู่ที่วัดเทพธิดา ๒ (ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๘๓-๒๓๘๕) ระบุจุดประสงค์เพื่อให้กุลบุตรใช้ส� ำหรับอ่านเทียบแม่ตัวสะกดต่าง ๆ ดังที่กล่าวไว้ตอนท้ายว่า ภุมราการุญสุนทร ไว้หวังสั่งสอน เด็กอ่อนอันเยาว์เล่าเรียน ก ข ก กาว่าเวียน หนู น้อยค่อยเพียร อ่านเฃียนผสมกมเกย ๓ หนังสืออ่านเทียบที่กล่าวหมายถึงหนังสือที่แต่งเป็นค� ำประพันธ์เพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียน การสอนหนังสือไทยเฉพาะหัวข้อ เช่น กาพย์พระไชยสุริยา แต่งเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนหัวข้อ เรื่องการแจกแม่ตัวสะกด มี แม่ ก กา เป็นต้นไปจนจบแม่เกย ตามแนวการเรียนการสอนหนังสือไทยแต่ โบราณ (ดังเห็นได้ใน จินดามณี ) ที่นิยมสอนอักขรวิธีควบคู่กับกวีนิพนธ์ท� ำนองใช้เป็นสื่อให้เข้าใจและให้ เห็นแบบอย่าง ๑ มาลิทัต พรหมทัตตเวที ใน “น�้ ำท่วม ปัญหาโลกแตก” เอกสารประกอบการบรรยายในที่ประชุมส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ๒ ใน “ประวัติสุนทรภู่” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพทรงอ้างถึงค� ำบอกเล่าของ พระยาธรรมปรีชา (บุญ) ซึ่งบวชอยู่วัดเทพธิดาว่า สุนทรภู่แต่งค� ำเทียบเรื่อง พระไชยสุริยา และ นิราศเมืองสุพรรณ ทรงมีความเห็นว่าสุนทรภู่อาจถูกปรามาสว่า แต่งเป็นแต่กลอนเพลงยาว จึงได้แต่งเรื่องทั้งสองด้วยค� ำประพันธ์ชนิดอื่นเพื่อพิสูจน์ความสามารถ ๓ การอ้างอิงตัวบทเรื่อง กาพย์พระไชยสุริยา ในที่นี้จะใช้หนังสือ มูลบทบรรพกิจ เพื่อให้เห็นอักขรวิธีซึ่งมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาว่าด้วย ตัวสะกด เข้าใจว่าน่าจะใกล้เคียงกับตัวบทสมัยที่แต่งมากกว่าฉบับที่ปรับอักขรวิธีเป็นปัจจุบัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=