สำนักราชบัณฑิตยสภา
พุทธศิ ลป์ในวรรณคดี ไทย 54 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 สุทัสสนกูฏ เป็นสีทอง จิตรกูฏ เป็นแก้ว ๗ ประการ กาฬกูฏ สีเขียวเหมือนดอกอัญชัน คันธมาทนกูฏ สีใสดั่งแก้วและเป็นแหล่งไม้หอม และไกรลาส เป็นสีเงินยวง เขาทุกลูกน้อมยอดไปที่สระอโนดาต ท� ำให้ ไม่ถูกแสงอาทิตย์และแสงจันทร์ น�้ ำในสระใสสว่างจนเห็นตัวปลา สระอโนดาตมีท่าน�้ ำ ๔ ท่า มีบันไดทอง ประดับแก้ว รองด้วยแผ่นหินแก้วข้างใต้เป็นที่อาบน�้ ำ ท่าหนึ่งส� ำหรับเหล่าเทพยดา ท่าหนึ่งส� ำหรับเทพธิดา ท่าหนึ่งส� ำหรับพระปัจเจกโพธิ และท่าหนึ่งส� ำหรับฤษี นักสิทธิ์ วิทยาธร น�้ ำในสระอโนดาตจะไหลเวียนท� ำ ทักษิณาวรรต ๓ รอบแล้วไหลออกทั้ง ๔ ทิศ น�้ ำที่ไหลออกทางทิศใต้ จะหล่อเลี้ยงชมพูทวีปด้านใต้ และไหล กระทบภูผาท� ำให้สายน�้ ำพุ่งขึ้นบนอากาศสูง ๖๐ โยชน์ เป็นละอองฝอย เรียกว่า “อากาศคงคา” เมื่อลงบน พื้นกลายเป็นสระใหญ่ และไหลต่อไปปะทะภูเขาจึงพุ่งขึ้นเหนือพื้นดิน กลายเป็นแม่น�้ ำ ๕ แห่ง คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี มหิ และสรภู ในสระอโนดาตอุดมไปด้วยบัวนานาสีนานาพันธุ์ นอกสระนั้นเป็นป่าอันอุดม สมบูรณ์ นอกจากเหล่าต้นไม้ต่าง ๆ ป่าหิมพานต์เป็นที่อยู่ของคนธรรพ์ นักสิทธิ์ วิทยาธร และสัตว์มหัศจรรย์ นานาชนิด เรียกว่า สัตว์หิมพานต์ เช่น ราชสีห์ ช้าง ครุฑ นาค ม้า หงส์ ฯลฯ และมีสัตว์ในจินตนาการ ที่โดยมากเป็นการผสมกันของสัตว์ตั้งแต่ ๒ ชนิดขึ้นไป เช่น กินนร-กินรี มาจากมนุษย์ผสมกับนก ท่อนบน เป็นคน ท่อนล่างเป็นนก อรหัน ตัวเป็นนก หน้าเป็นคน กุญชรปักษี ตัวเป็นช้างมีปีกเหมือนนก นกหัสดีลิงค์ เป็นนกซึ่งมีหัวเป็นราชสีห์มีงวงเป็นช้าง สัตว์หิมพานต์เหล่านี้มีในสมุดภาพไตรภูมิและวรรณคดีสมัยหลัง ๆ ป่าหิมพานต์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=