สำนักราชบัณฑิตยสภา

53 รื่ นฤทั ย สั จจพั นธุ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ๖. ป่าหิมพานต์ ไตรภูมิกถา กล่าวว่าป่าหิมพานต์อยู่ในชมพูทวีป อยู่ที่เขาหิมพานต์ซึ่งสูง ๕๐๐ โยชน์ (๑ โยชน์เท่ากับ ๑๙.๒๐ กิโลเมตร) ใหญ่ ๓,๐๐๐ โยชน์ มียอด ๘๔,๐๐๐ ยอด ไตรภูมิกถา บรรยายว่า “ในป่าพระหิมพานต์นั้นสนุกนิ์นักหนาแล” เพราะเต็มไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ซึ่งมีขนาดใหญ่ อย่างมหัศจรรย์ เช่นต้นหว้า ซึ่ง “แลลูกหว้านั้นโดยใหญ่เท่ากลองอันใหญ่แลกินหวานดั่งน�้ ำผึ้ง อันว่าลูกหว้า นั้น ถ้าตกถูกตัว ๆ นั้นหอมดั่งหอมน�้ ำตคระดั่งแก่นจันทน์นั้น ถ้ายื่นมือล้วงเข้าไปในเนื้อหว้า พอสุดแขน จิงเถิงเม็ด” นอกจากต้นหว้า ยังมีป่ามะขาม ป่าสมอ และป่านารีผล ซึ่งบรรยายว่า “ถัดไปนั้นมีป่าไม้ นารีผล แลว่าลูกไม้นั้นงามนักดั่งสาวอันพึ่งใหญ่ได้ ๑๖ ปี แลฝูงผู้ชายได้เห็นมีใจรักนัก ครั้นว่าหล่นตกลง ฝูงนกกลุ้มกินดั่งหมีกินผึ้ง” ป่าหิมพานต์มีสระน�้ ำใหญ่ ๗ สระ คือ สระอโนดาต สระกัณณมุณฑะ สระรถการะ สระฉัททันตะ สระกุณาละ สระมันทากินี และสระสีหปปาตะ สระอโนดาตมีภูเขาล้อมรอบ ๕ ภูเขา คือ ( จากหนังสือ ปริศนาแห่งหิมพานต์ ของ อาจารย์ พิษณุ ศุภนิมิตร)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=