สำนักราชบัณฑิตยสภา

49 รื่ นฤทั ย สั จจพั นธุ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์ตอนนี้ขึ้นใหม่ในบทพากย์ รามเกียรติ์ เป็นกาพย์ฉบัง ๑๖ ที่รู้จักกันเป็นอย่างดี อินทรชิตบิดเบือนกายิน เหมือนองค์อมรินทร์ ทรงคชเอราวัณ ช้างนิมิตฤทธิแรงแข็งขัน เผือกผ่องผิวพรรณ สีสังข์สะอาดโอฬาร์ สามสิบสามเศียรโสภา เศียรหนึ่งเจ็ดงา ดั่งเพชรรัตนรูจี งาหนึ่งเจ็ดโบกขรณี สระหนึ่งย่อมมี เจ็ดกออุบลบันดาล กอหนึ่งเจ็ดดอกดวงมาลย์ ดอกหนึ่งแบ่งบาน มีกลีบได้เจ็ดกลีบผกา กลีบหนึ่งมีเทพธิดา เจ็ดองค์โสภา แน่งน้อยล� ำเพานงพาล นางหนึ่งย่อมมีบริวาร อีกเจ็ดเยาวมาลย์ ล้วนรูปนิรมิตกายา ๕. จักรวาล วรรณคดีพุทธศาสนาของไทยหลายเล่มแสดงคติโบราณเรื่องจักรวาลวิทยาไว้ ดังปรากฏใน ไตรภูมิกถา พระไตรปิฏก และคัมภีร์ต่าง ๆ ต่อมาในราว พ.ศ. ๒๐๖๓ พระสิริมังคลาจารย์ แห่งล้านนา ได้รจนาเรื่อ งจักกวาฬทีปนี โดยอ้างหลักฐานจากพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่าง ๆ มาประกอบกัน ในทางพุทธศาสนา จักรวาล หมายถึง อาณาเขตอันประกอบด้วยสรรพสิ่งต่าง ๆ อันมีเขาพระสุเมรุ เป็นศูนย์กลาง มีภูเขาทั้ง ๗ หรือสัตตบริภัณฑ์ มีทวีปใหญ่ ๔ ทวีป ทวีปน้อยสองพันทวีป และมหาสมุทร โดยมีเขาจักรวาลล้อมรอบ เรียกว่า จักรวาลหนึ่ง หรือโลกธาตุหนึ่ง และหมายรวมถึง สวรรคภูมิ นรกภูมิ พระจันทร์ พระอาทิตย์ และดวงดาราต่าง ๆ จักกวาฬทีปนี แบ่งเนื้อหาเป็น ๖ กัณฑ์ กัณฑ์ที่ ๑ กล่าวถึงขนาด ความกว้างยาวของจักรวาล กัณฑ์ที่ ๒ กล่าวถึงเขาพระสุเมรุ เขาสัตตบริภัณฑ์ คือ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัสสนะ เนมินธร วินตกะ และอัสสกัณณะ ป่าหิมพานต์ ภูเขาจักรวาล กัณฑ์ที่ ๓ กล่าวถึง มหาสมุทร เช่น สีทันดร สระใหญ่ ๗ สระ เช่น สระอโนดาต แม่น�้ ำใหญ่ แม่น�้ ำเล็ก และชลาลัย ๒๐ ประเภท กัณฑ์ ที่ ๔ กล่าวถึงทวีปใหญ่ทั้ง ๔ คือ ชมพูทวีป อมรโคยานทวีป บุพพวิเทหทวีป และอุตตรกุรุทวีป ทวีปน้อย เมืองและชนบทต่าง ๆ กัณฑ์ที่ ๕ กล่าวถึงอบายภูมิ คือที่อยู่ของสัตว์นรก เปรต อสูร เดรัจฉาน เทวภูมิ คือ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=