สำนักราชบัณฑิตยสภา
พุทธศิ ลป์ในวรรณคดี ไทย 44 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 เสียค� ำเดียวเป็นภักษา ทั้งพญากาสรตัวกล้าก็ลับเขาโขยดโลดลองเชิง เริงฤทธิไกรไล่ขวิดควิ้วอยู่ฉาน ๆ ประหนึ่งว่าจะควานควักตักแผ่นดินดอน สิเนรุ ปพฺพตราชา ทั้งพระยาเขาพระสุเมรุก็เอนอ่อนอยู่ทบเทา แก้วเก้าเนาวรัตน์แสนสัตตรัตนะเรืองรองซ้องสาธุการอยู่อึงมี่ ทั้งพระยาครุฑราชปักษี ก็โผผินบินขึ้น เวหน เล่นลมบนอยู่ลิบลิ่ว เมฆหมอกปลิวอยู่เกลื่อนกลาด บนอากาศก็วิกลเป็นหมอกกลุ้ม อัมพรชอุ่ม อับอลเวง เสียงคระโครมเครงครื้นครั่น ฝนสวรรค์ก็เฟื่องฟุ้งเป็นฟองฝอย เมขลาเหาะลอยล่อแก้ว อยู่แวววับ รามสูรขยับขยิกขยี้ แสงสายมณีแวบวาบวาวสว่าง อสูรก็ขว้างขวานประหารอยู่เปรี้ยง ๆ เสียง สนั่นลั่นโลกอยู่วิจลจลาจล นาคราชในเบื้องบนก็เบือนบิดนฤมิตกาย ชูเศียรถวายสักการบูชา เทพยดา นิกรนับโกฏิต่างน้อมศิโรตม์อยู่ไสว ยอพระกรไหว้อยู่แออัด ว่าเจ้าประคุณของสัตว์ผู้ยากเอ่ย อันทานนี้ยาก ที่บุคคลใดเลยจะท� ำได้ เว้นไว้แต่หน่อพระชินสีห์อันทรงสร้างพระบารมีมามากแล้ว ขอให้พระทูลกระหม่อม แก้วจงส� ำเร็จ แด่พระวิสุทธิสร้อยสรรเพชญพุทธอัครอนาวรณญาณ ในอนาคตกาลโน้นเถิด.” จะเห็นได้ว่าข้อความดังกล่าวข้างต้น สร้างจินตภาพ กล่าวคือ เห็นภาพ แสง สี และได้ยินเสียง นอกจากนี้ยังสร้างสรรค์ด้วยภาษาภาพพจน์อันเป็นกลวิธีทางวรรณศิลป์อย่างหลากหลาย ทั้งการกล่าว เกินจริง บุคคลวัต อุปมาอุปไมย (simile) และมีการใช้ค� ำเลียนเสียงธรรมชาติ (onomatopoeia) อย่างมากมาย ทั้งเสียงแผ่นดินแยก เสียงปืน เสียงช้างร้อง เสียงช้างตกมัน เสียงต้นไม้ล้ม เสียงเสือค� ำราม เสียงควายไล่ขวิด เสียงรามสูรขว้างขวาน ฯลฯ นับเป็นภาพพุทธศิลป์ที่สร้างสรรค์ด้วยตัวอักษรอย่างวิจิตร ๔. ภาพนรก - สวรรค์ ความเชื่อเรื่องนรก - สวรรค์ มาจากคติไตรภูมิ ซึ่งปรากฏเป็นวรรณคดี เรื่อง ไตรภูมิกถา พระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย และวรรณคดีเรื่อง เดียวกันนี้อีกหลายส� ำนวนในเวลาต่อมา คติไตรภูมิมีบทบาทอย่างสูงในสังคมไทย นอกจากความเชื่อเรื่อง การเวียนว่ายในภพภูมิต่าง ๆ ไม่สิ้นสุด อันจะพ้นได้โดยเข้าสู่นิพพานแล้ว ยังสร้างภาพลักษณ์และ จินตนาการเรื่องนรก สวรรค์ ป่าหิมพานต์ มนุษยโลก จักรพรรดิ พระอินทร์ พระพรหม และเหล่าเทวดา ทั้งหลายอีกด้วย พุทธศิลป์จากไตรภูมิถูกน� ำไปถ่ายทอดเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภาพประติมากรรม ตลอดจนการก่อสร้างศาสนสถานอันเป็นสถาปัตยศิลป์ ไตรภูมิกถา พรรณนาถึงนรกใหญ่ ๘ ขุมซึ่งมีสัณฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกันลงไป และมีนรก บ่าวซึ่งอยู่โดยรอบอีก ๑๖ ขุม นรกบ่าวแห่งหนึ่ง ชื่อ โลหสิมพลีนรก พรรณนาภาพไว้อย่างน่าสยดสยองว่า “นรกบ่าวถัดนั้นอันเป็นค� ำรบ ๑๕ ชื่อ โลหสิมพลีนรก ฝูงคนอันท� ำชู้ด้วยเมียท่านก็ดี แลผู้หญิง อันมีผัวแล้วแลท� ำชู้จากผัวก็ดี คนฝูงนั้นตายไปเกิดในนรกนั้น นรกนั้นมีป่าไม้งิ้วป่าหนึ่งหลายต้นนักแล ต้นงิ้วนั้นสูงได้แลต้นแลโยชน์ แลหนามงิ้วนั้นเทียรย่อมเหล็กแดงเป็นเปลวลุกอยู่ แลหนามงิ้วนั้นยาวได้ ๑๖ นิ้วมือ เป็นเปลวไฟลุกอยู่บ่ห่อนจะรู้ดับสักคาบแล ในนรกนั้นเทียรย่อมผู้หญิงผู้ชายหลาย แลคนฝูงนั้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=