สำนักราชบัณฑิตยสภา

41 รื่ นฤทั ย สั จจพั นธุ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ในมหาปรินิพพานสูตรปริวรรต ปริจเฉทที่ ๒๖ สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงพรรณนา ภาพเหตุการณ์ในตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานในคืนวันวิสาขบูชาว่า เกิดปรากฏการณ์ ธรรมชาติที่แสดงอาการทุกข์โศก พื้นดิน ท้องฟ้า มหาสมุทร ส่งเสียงกึกก้องไปทั้งจักรวาลด้วยความอาลัย อย่างยิ่งยวด ดังข้อความต่อไปนี้ “ขณะนั้นอันว่าปฐวีกัมปนาการก็บังเกิดปรากฏพิลึกพึงกลัวทั่วโลกธาตุทั้งปวงอีกทั้งห้วงมหรรณพ ก็ก� ำเริบตีฟองคะนองคลื่นครืนครัน นฤนาทสนั่นในมหาสมุทรสาครทั้งหมู่มัจฉาชาติมังกรผุดด� ำกระท� ำให้ ศัพท์ส� ำนานนฤโฆษ ครุวนาดุจเสียงปริเทวกถา แซ่ซ้องโศกาดูรก� ำสรด ทั้งขุนเขาพระสิเนรุราชบรรพตก็ น้อมยอดโอนอ่อน มีอาการปานประหนึ่งว่ายอดหวายอันอัคคีลน อเนกมหัศจรรย์ก็บันดาลทั่วเมทนีดล สกลนภากาศ ปางเมื่อพระบรมโลกนาถเข้าสู่พระปรินิพพาน” ปฐวีกัมปนาท การพรรณนาแบบกล่าวเกินจริง (hypobole) เช่นนี้ สร้างอารมณ์ไหวสะเทือน หวาดหวั่น นอกจากนี้การใช้โวหารภาพพจน์บุคลาธิษฐาน (personification) ยังท� ำให้ตระหนักรู้ว่าการเสด็จดับขันธ์ ปรินิพพานเป็นความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ ไม่เพียงแต่บุคคลธรรมดา ตลอดจนเหล่าทวยเทพเทวดาเท่านั้นที่โศก เศร้ากับความสูญเสียนี้ แม้โลกและจักรวาลก็สะเทือนเลื่อนลั่นและแสดงอาการเศร้าสลดราวกับมีชีวิตจิตใจ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=