สำนักราชบัณฑิตยสภา

ผู้รจนา/นั กประพั นธ์/กวี ผู้สร้างวรรณกรรมทั กษิ ณ 28 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 ภาคใต้อยู่หลายท่าน เช่น พระเทพรัตนกวี (เกตุ ธมฺมวโร) พระธรรมโมลี (เกตุ ธรรมรัชชะ) พระครูพจนกวี (ฟุ้ง โกวิโท) นายเนตร ชลารัตน์ และนายสร้อย เสียงเสนาะ จากที่กล่าวมาแล้วเห็นได้ชัดว่าผู้แต่ง หรือผู้รจนาวรรณกรรมของภาคใต้ในยุคการพิมพ์เริ่มแพร่ หลายนั้นหาผู้แต่งที่เป็นเจ้านายได้ยาก ส่วนใหญ่ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรมคือ พระภิกษุสงฆ์ และชาวบ้าน ที่มีความรู้ หรือไม่ก็เป็นนักเล่นเพลง หรือมหรสพพื้นบ้าน กิจการพิมพ์ที่มีขึ้นอย่างแพร่หลายในภาคใต้ได้ ท� ำให้ผู้แต่งหรือผู้รจนา นอกจากมุ่งสร้างผลงานเพื่อการกุศลสาธารณะแล้วยังจ� ำหน่ายให้แก่ผู้สนใจอีกด้วย บทสรุป ผู้แต่งหรือผู้รจนาวรรณกรรมภาคใต้ได้สร้างสรรค์วรรณกรรมอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนาน ตั้งแต่ยุคก่อนการพิมพ์ จนกระทั่งถึงยุคการพิมพ์แพร่หลาย ยุคก่อนการพิมพ์ส่วนใหญ่ผลงานวรรณกรรม บันทึกลงในหนังสือบุดหรือสมุดข่อยและใบลาน ผู้แต่งมักไม่บอกชื่อ และรายละเอียดส่วนตัว ไม่ว่าผู้แต่ง จะเป็นพระภิกษุสงฆ์หรือชาวบ้าน ส่วนใหญ่เป็นผู้คงแก่เรียน มีความรอบรู้เรื่องราวทั้งทางโลกและ ทางธรรมอย่างกว้างขวาง ผลงานที่สร้างขึ้นมุ่งให้เป็นวิทยาทาน และมุ่งให้ผู้แต่งได้รับอานิสงส์คือ ความสุข และนิพพาน มีผู้แต่งหรือผู้รจนาอยู่บ้างที่มีความเกี่ยวข้องอยู่กับราชส� ำนัก จึงได้รับอิทธิพลจากภาคกลาง ทั้งด้านเนื้อหาสาระและค� ำประพันธ์ที่ใช้แต่ง ผู้แต่งหรือผู้รจนาวรรณกรรมในยุคการพิมพ์ เนื่องจากการ พิมพ์ที่แพร่หลาย ท� ำให้ผู้แต่งนอกจากแต่งโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการกุศล หรือประโยชน์ร่วมของสังคม แล้วยังแต่งขึ้นเพื่อหารายได้อีกด้วย ในด้านเนื้อหาสาระและค� ำประพันธ์ที่ใช้ก็เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยมีเนื้อหาหลากหลายอย่างเห็นได้ชัด ส่วนค� ำประพันธ์ส่วนใหญ่แต่งด้วยค� ำกลอน อย่างไรก็ตาม ผู้แต่ง หรือผู้รจนาวรรณกรรมภาคใต้ในยุคนี้ก็ยังคงเป็นพระภิกษุ ชาวบ้านที่มีความรู้และนักเล่นเพลงหรือ นักแสดงมหรสพพื้นบ้านเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าผู้มีความรู้ในระบบโรงเรียนได้ให้ความสนใจสร้างสรรค์ วรรณกรรมกันมากขึ้นก็ตาม การศึกษาเรื่องราวของผู้แต่ง หรือผู้รจนาวรรณกรรมทักษิณแม้ว่ายังไม่ครอบคลุมข้อมูลผลงาน วรรณกรรมที่มีอยู่เป็นจ� ำนวนมหาศาลก็ตาม แต่อย่างน้อยการศึกษาช่วยให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ความ เป็นภาคใต้สามารถมองผ่านผู้แต่งหรือผู้รจนาที่กล่าวถึงได้เป็นอย่างดี อีกทั้งสามารถใช้เป็นฐานในการศึกษา เกี่ยวกับวรรณกรรมภาคใต้ในระดับลึกในโอกาสต่อไปส� ำหรับผู้สนใจด้านนี้อีกด้วย อนึ่ง ประวัติผู้รจนา/ นักประพันธ์/กวีทักษิณ เท่าที่สามารถสืบค้นประวัติและผลงานได้แน่ชัดในระดับหนึ่ง มีอยู่หลายท่าน ได้แก่ พระภิกษุอินท์ พระยาตรัง พระครูวินัยธร ชูปราชญ์นายเรืองนาใน หมื่นสนิท สุขปราชญ์พระครูวิจารณ์ ศีลคุณ (ชู) พระสมุห์ หนู พระรัตนธัชมุนี (ม่วง) เสือ ช� ำนาญภักดี พระปลัดเลี่ยม อาสโย เพลงบอกปานบอด แดงนักปราชญ์ เพลงบอกเนตร ชลารัตน์ พระธรรมโมลี ติสฺสโร (เกตุ ธรรมวัชระ) พระเทพรัตนกวี (เกตุ แสงหิรัญ) กราย พัฒนจันทร์ และทอง หนองถ้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=