สำนักราชบัณฑิตยสภา
27 ชวน เพชรแก้ว วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ผู้แต่งหรือผู้รจนาวรรณกรรมในช่วงนี้ ส่วนหนึ่งคาบเกี่ยวกับผู้แต่งยุคก่อนการพิมพ์ เช่น พระครู วิจารณ์ศีลคุณ (ชู) พระสมุห์หนู พระรัตนธัชมุนี (ม่วง) และพระเลี่ยม อาสโย ซึ่งท่านเหล่านี้มีชีวิตมาถึง ช่วงเวลานี้ ผลงานวรรณกรรมของพระครูวิจารณ์ศีลคุณ (ชู) เรื่อง ลุงสอนหลานค� ำกาพย์ พิมพ์เผยแพร่ ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ และครั้งต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ หลังจากนั้นผลงานวรรณกรรมอื่น ๆ ที่สร้างสรรค์ ในช่วงนี้ก็มีการพิมพ์เผยแพร่กันอย่างกว้างขวาง โดยนอกจากพิมพ์เผยแพร่เพื่อกิจการสาธารณกุศลแล้ว ผู้แต่งบางท่านจ� ำหน่ายให้แก่ผู้สนใจเพื่อหาเงินเป็นค่าพิมพ์ด้วย ในส่วนของผู้แต่ง หรือผู้รจนาวรรณกรรมคนอื่น ๆ ซึ่งมีชีวิตและผลิตงานในช่วงเวลานี้ จนกระทั่งถึง พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยมีผลงานพิมพ์เผยแพร่ เท่าที่สืบค้นได้ ได้แก่ พระธรรมโมลี (เกตุ ธรรมรัชชะ) นายเพียร นะมาตร์ นายแดง สุวรรณบัณฑิต นายทอง หนองถ้วย นายปาน ชีช้าง นายชื่น เกื้อสกุล นายจี่ ปฐมนุพงศ์ นายกราย พัฒน์จันทร์ นายเปลื้อง นาควานิช นายเสือ ช� ำนาญภักดี นายสีนวล มากนวล พระมหาเรือง วุฑาติญาโณ พระอรรถโมลี (ก.ศรนรินท์) นายสีนุ่ม ไชยเศรษฐ์ นายฟอง เรืองจันทร์ นายเนตร ชลารัตน์ พระเทพปัญญากวี (บุญสงค์ อ่อนน้อม) พระครูพจนกวี (ฟุ้ง โกวิโท) พระเทพรัตนกวี (เกตุ ธมฺมวโร) นายนิ่ม ล่องพรหม นายสร้าง บัวทอง และนายพร้อม ศรีสัมพุทธ เป็นต้น ผลงานวรรณกรรม ในช่วงนี้มีเนื้อหาหลากหลาย คือ มีทั้งนิราศ สุภาษิตค� ำสอน บันทึกเหตุการณ์ ศาสนา ฯลฯ ส่วนค� ำประพันธ์ ที่ใช้ผู้แต่งนิยมใช้กลอนแต่งมากที่สุด นอกจากนั้นก็แต่งเป็นโคลงบ้าง ในขณะที่กาพย์ซึ่งเป็นค� ำประพันธ์ ที่นิยมก่อนยุคการพิมพ์มีผู้น� ำมาใช้แต่งน้อยมาก อย่างไรก็ตาม กลอนพื้นบ้าน เช่น กลอนเพลงบอกได้มี ผู้น� ำมาแต่งกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ในช่วง พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมากระทั่งถึง พ.ศ. ๒๕๒๐ ผู้แต่งหรือผู้รจนาวรรณกรรมภาคใต้ส่วน หนึ่งก็เป็นผู้สร้างสรรค์วรรณกรรมที่ต่อเนื่องมาจากก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ ผู้ที่สร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่อง ในระยะนี้ ได้แก่ พระเทพรัตนกวี (เกตุ ธมฺมวโร) พระครูพจนกวี (ฟุ้ง โกวิโท) พระอรรถโมลี (ก.ศรนรินทร์) และนายเนตร ชลารัตน์ เป็นต้น ผู้สร้างผลงานใหม่ในช่วงนี้ได้แก่ พระสมุห์ฤกษ์ โอภาโส ได้แต่ง ต� ำนาน พระทนต์ธาตุ ด้วยค� ำประพันธ์ประเภทกาพย์ นายวิจิตร เสืออินโท แต่ง เสือลายพาดกวาดบ้าน นายนุกูล ล้อมเขต แต่ง กลอนค� ำตัก นายเจิม จิตต์ประณีตได้บันทึกประสบการณ์เกาะตะรุเตา นายสร้อย เสียงเสนาะ แต่ง พายุโหมนครศรีธรรมราชค� ำกลอน นายชม แก้วประจุ แต่ง นิราศถูกจับปอ นายเจริญ ทองประสม แต่ง พายุโหมแปดจังหวัดภาคใต้ นายกตัญญู (นามแฝง) แต่งประวัติ หนังปานบอดค� ำกลอน นายตรึก พฤกษศรี แต่ง นิราศปีนัง และพระหลาก เอกธมฺโม แต่ง คัมภีร์มหาวิบากค� ำกลอน เป็นต้น ผู้แต่งวรรณกรรมใน ช่วงเวลาดังกล่าวแท้ที่จริงแล้วยังมีอยู่อีกหลายท่าน แต่บางท่านสร้างผลงานเพียงชิ้นเดียวก็เลิกราไป บางท่านผลงานที่พิมพ์เป็นหนังสือเล่มเล็กก็สูญหายไป จึงยากแก่การสืบค้นศึกษาเป็นอย่างยิ่ง อย่างไร ก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ภาคใต้มีผู้แต่งหรือผู้รจนาวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายใน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=