สำนักราชบัณฑิตยสภา

ผู้รจนา/นั กประพั นธ์/กวี ผู้สร้างวรรณกรรมทั กษิ ณ 26 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 ในส่วนของผู้แต่ง หรือผู้รจนาวรรณกรรมภาคใต้ยุคก่อนการพิมพ์หากพิจารณาจากข้อมูลทาง มุขปาฐะที่เล่าสืบต่อกันมา โดยเฉพาะผู้แต่งวรรณกรรมชาวเมืองนครศรีธรรมราช นอกจากนายเรือง นาใน แล้ว ยังช่วยให้ทราบถึงบุคคลอื่น ๆ ซึ่งมีอายุใกล้เคียงกันกับนายเรือง นาใน คือ ชูปราชญ์ สุขปราชญ์ และพระครูวินัยธร เป็นต้น ผู้แต่งหรือผู้รจนาที่มีหลักฐานชัดเจนในยุคนี้คือ พระภิกษุอินท์ ผู้แต่ง กฤษณา สอนน้องค� ำฉันท์ ร่วมกับพระยาราชสุภาวดีในสมัยธนบุรี และพระยาตรังผู้แต่ง นิราศตามเสด็จล� ำน�้ ำ น้อย นิราศถลาง โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โคลงกระทู้เบ็ดเตล็ด เป็นต้น โดยที่ท่านผู้นี้มีชีวิตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ผู้แต่งวรรณกรรมยุคก่อนการพิมพ์แพร่หลายในภาคใต้ยังมีอยู่ หลายท่าน เช่น พระครูวิจารณ์ศีลคุณ (ชู) ผู้แต่งเรื่อง ลุงสอนหลานค� ำกาพย์ และเรื่อง พระพุทธโฆษาจารย์ พระรัตนธัชมุนี (ม่วง) ผู้แต่ง โคลงรับเสด็จรัชกาลที่ ๕ และ กลอนเพลงบอกสัจจศาลา พระสมุห์หนู ผู้แต่ง ลิลิตโสฬศนิ มิต และ อุเทนค� ำฉันท์ พระเลี่ยมอาสโย ผู้แต่ง พลายจ� ำเริญ และทิดปาน พระยาโสภณ พัทลุงกุล (สว่าง ณ พัทลุง) ผู้แต่ง นิราศเมืองทลุง และ นิราศเมืองปะเหลียน พระเนียม ผู้แต่ง นิราศ เมืองร่างกุ้ง และขุนสมานนรกิจ ผู้แต่ง นิราศเมืองกระบี่ เป็นต้น จากที่กล่าวถึงผู้แต่งหรือผู้รจนาวรรณกรรมยุคก่อนการพิมพ์ในภาคใต้มาแล้ว หากพิจารณา จากเนื้อหาวรรณกรรมจะเห็นได้ว่า ผู้แต่งส่วนใหญ่เป็นผู้มีความรู้กว้างทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นผู้คงแก่เรียน แหล่งเรียนรู้ที่ส� ำคัญคือ วัด นอกจากนั้นต้องรู้จักเสวนากับบัณฑิตเป็นเนืองนิตย์ ผู้แต่งจ� ำนวนไม่น้อยคือพระภิกษุ หรือไม่ก็เป็นผู้เกี่ยวข้องอยู่กับวัด ผู้แต่งกลุ่มนี้จึงได้รับอิทธิพลจาก พุทธศาสนาและวิถีชีวิตชาวบ้านไม่น้อย ด้วยเหตุนี้เองผลงานส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้นจึงเกี่ยวพันกับศาสนา และวิถีชีวิตชาวบ้าน และในการสร้างสรรค์ผลงานก็มุ่งให้เป็นวิทยาทาน อย่างไรก็ตาม ผู้แต่งในยุคดังกล่าว ที่เกี่ยวข้องอยู่กับราชส� ำนัก เห็นได้ชัดว่าได้รับอิทธิพลจากภาคกลางทั้งด้านเนื้อหาสาระ และค� ำประพันธ์ ที่ใช้แต่งอีกทั้งการแต่งก็มุ่งตอบสนองความต้องการของราชส� ำนักเป็นส� ำคัญ ผู้รจนา/นักประพันธ์/กวียุคเริ่มต้นการพิมพ์ การที่เทคโนโลยีการพิมพ์แพร่หลายในภาคใต้อย่างกว้างขวาง ประมาณปลายสมัยรัชกาลที่ ๖ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ในวงวรรณกรรมภาคใต้ กล่าวคือ การถ่ายทอดวรรณกรรม แบบยุคเก่าโดยใช้หนังสือบุด (สมุดข่อย) และใบลาน บันทึกเนื้อหาเริ่มลดน้อยลง เพราะใช้การพิมพ์แทน เนื่องจากสะดวกกว่า รวดเร็วกว่า ทั้งนี้เพราะวรรณกรรมเริ่มมีค่าเป็นเงินเป็นทอง ระยะแรก ๆ อาจจะมี อยู่บ้างที่ยังมีการคัดลอกสืบต่อกันมาโดยเฉพาะตามวัดวาอารามต่าง ๆ ครั้นต่อมาก็หมดความนิยมอย่าง เห็นได้ชัด หนังสือบุดหรือสมุดข่อย และใบลาน ส่วนใหญ่ในระยะหลังที่บอกเวลาในการบันทึกไว้ชัดเจน มักอยู่ในช่วง พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๔๗๐ แทบทั้งสิ้น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=