สำนักราชบัณฑิตยสภา

25 ชวน เพชรแก้ว วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ อีกประการหนึ่งที่เห็นได้ชัดว่าเกี่ยวข้องกับการแต่งวรรณกรรมด้วยก็คือ การ “ซ่อมแปลง” และ “การแต่งต่อ” แม้ว่าทั้ง ๒ ประการนี้มิใช่เป็นผู้แต่งโดยตรงแต่นับได้ว่าเป็นการแต่งสร้างวรรณกรรมด้วย มีวรรณกรรมภาคใต้บางเรื่องที่มีลักษณะเช่นนี้ อาทิ สุทธิกรรมค� ำกาพย์ ฉบับสถาบันทักษิณคดีศึกษา มี ข้อความตอนหนึ่งว่า “ข้าผู้ช่วยซ่อมแปลงเรื่องสุทธิก� ำ เป็นมาค� ำพิสดาร สร้างไว้สืบแก่นสาร แก่กุลบุตร อันแสวงผล” การซ่อมแปลงดังกล่าวเห็นได้ชัดจากการปรับแก้ค� ำให้ต่างกันออกไปบ้าง แต่งเติมข้อความ เข้ามาบ้าง ด้วยอาจจะเห็นว่าท� ำให้เข้าใจง่ายขึ้น หรือท� ำให้มีสาระลึกซึ้งหรือถูกต้องกว่าเดิมยิ่งขึ้น หรืออาจ ไพเราะขึ้นกว่าเดิม เรื่อง สุบิน ส� ำนวนเก่าก็เช่นเดียวกัน ผู้เขียนบอกไว้ตอนท้ายเรื่องว่า “ตูข้าผู้ประดิษฐ์ คิด แต่งต่อเรื่องสุภา คินีแหละท่านอา ได้เรื่องมาแต่นอกเขา ตูข้านั่งคิดท� ำ ค� ำซ่อมใส่แอบส� ำเนา ปรีชาของข้า เบา เอาแต่ได้ไม่สู้ดี” จากข้อความนี้เห็นได้ชัดว่าผู้เขียนคัดลอกจากต้นฉบับเดิมคือ ฉบับนอกเขา (อ� ำเภอ ฉวาง) มีการซ่อมค� ำเคียงส� ำนวนเดิม มิได้ถือตามส� ำนวนเดิมทุกประการ การซ่อมแปลง และการแต่งต่อจึง มีส่วนท� ำให้วรรณกรรมเรื่องเดียวกันมีเนื้อหาแตกต่างกันออกไปบ้างเท่านั้น แต่ที่ส� ำคัญคือ ท� ำให้ทราบว่า วรรณกรรมดังกล่าวมีผู้แต่งมาก่อนหน้านั้นแล้ว มีวรรณกรรมหนังสือบุดบางเล่มที่บ่งบอกเกี่ยวกับผู้แต่ง หรือผู้รจนาไว้ชัดแจ้ง แต่ก็ไม่มี รายละเอียดมากมายให้รู้แน่ชัดว่าคือใคร มีชีวิตในสมัยใด เช่น เรื่อง นายดันค� ำกาพย์ บ่งไว้ว่าผู้แต่ง คือ “ฉานสิทธิ์คิดจักแจ้ง แต่งเรื่องราวกล่าวให้ขัน” เรื่อง เสือโค ก.กา บอกไว้ว่าผู้แต่งคือ “ข้าชื่อพระมี ขอไหว้ พระศรี รตนไตรย มาอยู่เกศา ขออย่ามีภัย...” เรื่อง แตงอ่อนค� ำกาพย์ กล่าวถึงผู้แต่งไว้ว่า “อะหังตั้งโส มุนี ชื่อโว หัสนัยน์โรปา เรื่องรัตน์หัตถี ชนนีมารดา เจ้าประติมา กายาแห่งตน... ข้าไหว้ได้ผูก เรื่องราวกล่าว ปลูก มีนามต� ำรา ครูพักชักน� ำ ขีดเขียนเวียนมา คุ้มเติบเสิบหา สรรพนามจ� ำใจ” แต่วรรณกรรมดังกล่าว มิได้มีรายละเอียดอื่นเกี่ยวกับผู้แต่งมากกว่านี้ และมีเพียงน้อยเรื่องที่กล่าวไว้เช่นนี้ อย่างไรก็ตาม ท� ำให้ ทราบชื่อผู้แต่งเป็นที่แน่ชัดขึ้น และบางคราวก็สามารถสืบค้นได้แน่ชัดว่ามีตัวตนอยู่จริง เช่น ในเรื่อง นายดัน ค� ำกาพย์ เนื้อเรื่องตอนนายดันแต่งงานได้กล่าวถึงนายเรือง นาในว่า “นายเรืองบ้านนาใน ร้องสู่ขอก็น่า ฟัง” ซึ่งเมื่อตรวจสอบกับค� ำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ เช่น ขุนเอาเทศคดี (กลอน มัลลิกะมาส) และพระภิกษุด� ำ วัดหัวอิฐที่บอกว่านายเรือง นาใน ผู้แต่ง พระรถค� ำกาพย์ เป็นชาวนครศรีธรรมราช ซึ่งมีความสามารถอย่าง ยิ่งเรื่อง “กลอนแปดบท” ๒ เล่าสืบต่อกันมาว่าท่านผู้นี้เคยติดตามเจ้าพระยานคร (น้อย) ในคราวที่ยกทัพไป ตีเมืองไทรบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๔ ท� ำให้ได้ทราบว่านายเรือง นาใน มีตัวตนอยู่จริงในสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงต้น รัชกาลที่ ๓ และขณะเดียวกันก็ท� ำให้ทราบว่าเรื่อง นายดันค� ำกาพย์ น่าจะแต่งขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน กับ พระรถค� ำกาพย์ คือน่าจะมีอายุเกินกว่า ๑๗๐ ปี ๒ กลอนชนิดหนึ่งของชาวนครศรีธรรมราช คล้ายกลอนสุภาพ เป็นลักษณะกลอนปฏิพากย์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=