สำนักราชบัณฑิตยสภา
ผู้รจนา/นั กประพั นธ์/กวี ผู้สร้างวรรณกรรมทั กษิ ณ 24 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 อีกลักษณะหนึ่งที่เกี่ยวข้องอยู่กับผู้แต่ง หรือผู้รจนา คือ มีวรรณกรรมจ� ำนวนไม่น้อยกล่าวถึง ผู้สร้าง และเวลาที่เขียนจบ ค� ำว่าสร้างในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ มีนัยให้คิดว่า หมายถึงผู้แต่งหรือ ผู้รจนาก็ได้ การใช้ทุนทรัพย์และการจัดการให้มีการแต่งหรือให้คัดลอกวรรณกรรมก็ได้ หมายถึงการจารหรือ การเขียน หรือการคัดลอกก็ได้ ซึ่งจะสรุปได้ว่าเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ยาก แต่ก็ท� ำให้ทราบรายละเอียด เกี่ยวกับวรรณกรรมในแง่มุมที่ช่วยเสริมความเข้าใจด้านอื่นให้กระจ่างชัดได้ บุนทนาวงศ์ วรรณกรรมหนังสือ บุดซึ่งพบที่อ� ำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีข้อความว่า “หนังสือบุนทนาวงศ์ ท่านคุณคงสร้างไว้ และเขียนจบ ณ วัน ๒ ฯ ๖ ค�่ ำ ปีม่แม้น่ศก พุทศักระราดได้สองพันสามรอยแปดสิบพระว่สา เสดดิอน ในสีบเบ้เดียน เสดวันใดยีสิบสองวัน” เรื่อง พระสมุทรค� ำกาพย์ วรรณกรรมหนังสือบุดซึ่งเก็บไว้ที่ส� ำนักศิลป วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มีข้อความว่า “แปะยูสินสร้างไว้ในพระศาสนาเขียนไว้ในวัดล� ำป� ำ” และ “เขียนจบในพระหัด เดือนสิบเอ็ดแรมแปดค�่ ำ ปีวอกจัตวาศก ตกอยู่ในวสันตา พระพุทธศักราชนั้นหนา ล่วงแล้วสองพันสี่ร้อยปี กลาย...” เรื่อง เจ้าพุทโทค� ำกาพย์ วรรณกรรมหนังสือบุดจากอ� ำเภอไชยา จังหวัด สุราษฎร์ธานี มีข้อความว่า “หนังสือพุทโทของคูนบุนคง สร้างไวยใหน่พุดทะสาศ่นา ถาข่าเกีดมาใหน ช้าดติใด ๆ ก็ดี ขอให้สมเรดพระอ่ระหันตราขีณาสบนีบภารบัดจะโยโหดี” เรื่อง พระเจ้าห้าพระองค์ค� ำกาพย์ วรรณกรรมหนังสือบุดซึ่งเก็บอยู่ที่หอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ สถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีข้อความตอนท้าย เรื่องว่า “ข้าพเจ้าได้สร้างหนังสือพระเจ้าห้าพระองค์ไว้ในพุทะศาสนาในชั่วนี้และชั่วหน้าเทิญ ได้เขียนจบ เมื่อเดือน ๗ ขึ้น ๙ ค�่ ำ ปีมะโรง พุทธศักราช ๒๔๔๙ เมื่อไปอยู่เฝ้าทางเข้า...” สาระเกี่ยวกับผู้สร้างและ วันเดือนปีที่เขียนจบในวรรณกรรมต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว แม้จะเป็นข้อเท็จจริงในนัยใดนัยหนึ่งไม่ได้แน่ชัด แต่ ได้เห็นเจตนาที่ชัดเจนว่าเป็นการกระท� ำเพื่อพระศาสนา จารีตนิยมอันนี้เป็นการให้วิทยาทานอันมีอานิสงส์ มากกว่าการให้วัตถุทาน คตินี้ท� ำให้การสร้างวรรณกรรมบูชาพระธรรมขยายเนื้อหาสาระจากคดีธรรม หรือพระธรรมไปยังคดีโลกมากขึ้น นับเป็นภูมิปัญญาที่ส่งผลให้เกิดการสร้างหนังสือถวายวัดมีเนื้อหาสาระ หลากหลายออกไป วรรณกรรมเรื่องอื่น ๆ ที่มีสาระดังที่ว่านี้ยังมีอีกมากมาย เช่น พระมหาชาดกค� ำกาพย์ กล่าวถึงประสกเต้าสีกาปราง และหลานว่าเป็นผู้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕ คัมภีร์มหาวิบาก กล่าวถึงชีต้นศุก ผู้สร้างเขียน โดยเขียนจบใน พ.ศ. ๒๔๒๔ พระยาชมพูค� ำกาพย์ กล่าวถึงพระเรืองผู้สร้าง และเขียนจบใน พ.ศ. ๒๔๔๔ และ พระปรมัตถธรรมค� ำกาพย์ กล่าวถึงนางเนี่ยวผู้สร้างไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ จึงเห็นได้ว่าคติ การสร้างหนังสือดังกล่าวนี้สืบต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง แต่ในระยะหลังลดน้อยลงเมื่อเทคโนโลยีการพิมพ์ เข้ามามีบทบาท อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งกรณีของผู้แต่งหากพิจารณาจากที่กล่าวมาแล้วก็ คือ ผู้แต่งมิได้มุ่งเกียรติยศชื่อเสียงใด ๆ จากการแต่งหรือรจนาหนังสือ ค� ำว่ากวีที่บ่งบอกถึงฐานะความเป็น ปราชญ์ และเป็นการยกย่องในระดับสูงมิได้ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมเล่มใด ๆ ที่บันทึกในหนังสือบุดจะมี ก็เพียง “นิพพานํ ปจฺจโย โหติ” ที่ปรากฏอยู่ตอนท้ายเรื่อง อันบ่งบอกว่าหวังความสุขใจ หวังนิพพานหรือ ความสงบเย็นจากวิทยาทานที่ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสติให้แก่สังคม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=