สำนักราชบัณฑิตยสภา
23 ชวน เพชรแก้ว วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ ผู้แต่ง หรือผู้รจนาวรรณกรรมยุคนี้พบว่า มีหนังสือเป็นจ� ำนวนมากไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้แต่ง การไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งดูเหมือนว่าเป็นการจงใจไม่บอก เพราะเห็นได้ชัดว่าบางเรื่องที่มีเนื้อหาสมบูรณ์ก็ไม่มี รายละเอียดเกี่ยวกับผู้แต่งแต่ประการใด เช่น เรื่อง ทวัสติงสาการค� ำกาพย์ ฉบับจังหวัดพัทลุง กล่าวถึงผู้แต่ง แต่เพียงว่า “ข้าพระขอกล่าว ไว้เป็นเรื่องราว ในพระคาถา ขออย่ามีโทษ เกิดกรรมเวรา ข้าผู้รจนา แปลไว้ ให้วิถาน ตามค� ำโอวาท พระเจ้าประสาท ลึกล�้ ำพิสดาร มีพระนามชื่อ ทะวะตึงสาการ ผู้ใดช� ำนาญ ต่อจะ รู้เหตุผล” ในเรื่อง ปรมัตถธรรมค� ำกาพย์ ฉบับที่ท่านพุทธทาสภิกขุน� ำมาพิมพ์เผยแพร่ก็ไม่มีรายละเอียด เกี่ยวกับผู้แต่ง ในค� ำชี้แจงการพิมพ์ครั้งที่ ๑ ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวว่า “ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แต่งกันแน่ ทราบแต่เพียงว่าอาจารย์ผู้เฒ่าท่านหนึ่งแถวน�้ ำรอบหรือคีรีรัฐนิคมแต่ง...” ต� ำนานสร้างโลกฉบับบ้านป่าลาม อ� ำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ซึ่งพิชัย แก้วขาวน� ำมาศึกษาก็ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้แต่งเช่นเดียวกัน ราดชะเนดค� ำกาพย์ ฉบับอ� ำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา มีข้อความบอกไว้ตอนท้ายเรื่องแต่เพียงว่า “ราดชะเนดท่านแต่ง ให้เขียนเอาไว้เป็นล� ำเนา ผู้ใดร�่ ำเรียนเอา นบนอบไหว้เจ้าต� ำรา” สุภาษิตร้อยแปด ค� ำกาพย์ ของจังหวัดพัทลุง ซึ่งนายเทพ บุณยประสาท ปริวรรตจากสมุดข่อยเป็นภาษาปัจจุบัน และพิมพ์ เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ ก็ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้แต่ง ผู้ปริวรรตเขียนค� ำน� ำว่า “เป็นส� ำนวนปักษ์ใต้ แต่เป็นของท่านผู้ใดแต่งไว้ ก็ยากที่จะทราบได้” การที่ไม่มีรายละเอียดของลักษณะดังกล่าวปรากฏอยู่ใน หนังสือโบราณหรือหนังสือบุดของภาคใต้เป็นจ� ำนวนมากนั้น จึงมีความเป็นไปได้ว่าเป็นไปตามคตินิยม คือ แต่เดิมการสร้างหนังสือของชาวภาคใต้ท� ำเพื่อเป็นวิทยาทาน จึงไม่จ� ำเป็นจะต้องระบุว่าใครคือผู้แต่ง ในงานวรรณกรรมของภาคใต้นอกจากมีลักษณะดังที่ว่าแล้ว ยังระบุเกี่ยวกับการเขียนไว้ซึ่ง มีนัย คือ อาจจะเป็นผู้แต่งหรือผู้รจนาหรือเป็นผู้คัดลอก โดยที่ผู้แต่งกับผู้คัดลอกอาจจะเป็นคนเดียวกัน หรือคนละคนกันก็ได้ เรื่อง นางอุทัยค� ำกาพย์ ฉบับของสถาบันทักษิณคดีศึกษา มีข้อความตอนต้นกล่าวว่า “ต้นคิดหมุดบุดขาวยาวสักศอก ฉันเขียนบอกตามกลอนสอนผู้หญิง” และข้อความอีกตอนหนึ่งว่า “ ... ผูกขึ้นไว้ตามบาลี...” และในตอนท้ายยังกล่าวว่า “ข้าภอเจ้าเขียนหนังสือเสร็จ ในปีฉลู เดือน ๔ แรม ๑๔ ค�่ ำ วัน ๔ สาดพระพุทศาสนา ๒๔๖๒ ภวสา...” จากข้อความดังกล่าว วรรณกรรมเรื่องนี้ผู้แต่ง น่าจะเป็นพระภิกษุซึ่งอาจจะแต่งและเขียนขึ้นเอง หรือมีผู้คัดลอกภายหลังก็อาจจะเป็นได้ วรรณกรรมเรื่อง เต่าทองค� ำกาพย์ ซึ่งพบต้นฉบับที่อ� ำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีข้อความปรากฏในตอนท้ายเล่มว่า “น�้ ำหมึกลูกยอ เขียนไม่สู้ดี ผู้หนึ่งคนใด หยิบไปหนาพี่ ระวังจงดี น�้ ำหมากน�้ ำพลู” และ “ตัวฉานปล�้ ำเขียน วันวันเหมือนจะตาย นอนคว�่ ำนอนหงาย เจ็บกายกายา เจ็บหลังเจ็บหน้า ราวกับถูกถอง เพลาหวันเที่ยง เสียงเด็กตีกลอง...ฉวยเอาหนังสือพา เขียนพลันทันใด” ผู้เขียนในวรรณกรรมเรื่องนี้ก็ไม่แน่ชัดว่า หมายถึง ผู้แต่งหรือเป็นแต่เพียงผู้คัดลอกกันแน่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=