สำนักราชบัณฑิตยสภา

พุทธประวั ติ ในภาษาธรรม 272 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 หากมีค� ำถามว่า สถานการณ์ใดเหมาะที่เราจะให้ความหมายในภาษาธรรมแก่ค� ำหรือข้อความ ในคัมภีร์ ค� ำตอบน่าจะเป็นว่า สถานการณ์ที่เหมาะสมก็คือเมื่อเราแปลค� ำหรือข้อความนั้นตามแบบ ภาษาคนแล้วได้ความหมายที่ขัดแย้งกับภาวะที่ก� ำลังเป็นอยู่หรือควรจะเป็นในทางปฏิบัติ สถานการณ์ เช่นนี้คล้ายกับกรณีของถ้อยค� ำส� ำนวนในภาษาไทยบางส� ำนวนที่ความหมายตามตัวอักษรขัดกับข้อควร ปฏิบัติ เพราะถ้อยค� ำส� ำนวนนั้นมุ่งที่จะให้ผู้อ่านฉุกใจคิด แล้วประพฤติปฏิบัติไปในแนวทางอื่นที่เป็นความ หมายแฝงในถ้อยค� ำส� ำนวน ขอยกตัวอย่างส� ำนวนในภาษาไทยที่กล่าวว่า “รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ” ซึ่งฟังแล้วขัดกับข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติ แต่ที่แท้ส� ำนวนข้อนี้มีความหมายแฝงว่า “รักจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ ให้ตัดความคิดอาฆาตพยาบาทออกไป รักจะอยู่กันสั้น ๆ ให้คิดอาฆาตพยาบาทเข้าไว้” (ราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๖ : ๙๓๘) ส� ำนวนไทยอีกข้อหนึ่งก็คือ “น�้ ำร้อนปลาเป็น น�้ ำเย็นปลาตาย” ซึ่งมีความหมายแฝงว่า “ค� ำพูดที่ตรงไปตรงมาฟังไม่ไพเราะ เป็นการเตือนให้ระวังตัวแต่ไม่เป็นพิษเป็นภัย ส่วนค� ำพูดที่อ่อนหวาน ท� ำให้ตายใจ อาจเป็นโทษเป็นภัยได้” (ราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๖ : ๕๘๓) ตัวอย่างของพระพุทธวัจนะที่ท่านพุทธทาสได้เสนอแนะให้แปลความหมายตามแบบภาษาธรรม มีดังนี้ ๑) ข้อความในอังคุลิมาลสูตร พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย ซึ่งเป็นพระพุทธวัจนะที่ พระพุทธองค์ตรัสแก่มหาโจรองคุลีมาลในขณะที่ก� ำลังเสด็จพระด� ำเนินอยู่ว่า “เราหยุดแล้ว ท่านต่างหาก ที่ยังไม่หยุด” ค� ำว่า “หยุด” ในที่นี้มีความหมายในภาษาธรรมว่า “หมดจากความรู้สึกว่ามีตัวตน หรือมี ของตน” ดังที่แสดงไว้ในตารางข้างบนนี้ (Buddhadāsa 1971: 76) ๒) พระพุทธวัจนะอีกข้อหนึ่งในพระสุตตันตปิฎกกล่าวว่า “จงฆ่าพ่อฆ่าแม่เสีย แล้วจะบรรลุ นิพพาน” ค� ำว่า “พ่อ” และ “แม่” ในที่นี้มีความหมายในภาษาธรรมว่า “อวิชชา” และ “ตัณหา” ตาม ล� ำดับ (Buddhadāsa 1971: 81) นอกจากเหตุผลทางด้านถ้อยค� ำภาษาดังกล่าวข้างบนนี้ เรายังอาจใช้ภาษาธรรมเพื่อแสดงทัศนะ ใหม่ที่ลึกซึ้งกว่าเดิมส� ำหรับข้อความที่เคยเป็นที่เข้าใจกันตามแบบภาษาคนอยู่แล้ว ยกตัวอย่างข้อความ เกี่ยวกับพุทธประวัติในภาษาที่คนทั่วไปทราบกันดี คือ “พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และนิพพาน ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ด้วยกันแต่ต่างปีกัน” นั้น อาจกล่าวเป็นภาษาธรรมเสียใหม่ว่า “พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และ นิพพาน พร้อมกันในวันและเวลาเดียวกัน” โดยอธิบายประกอบว่า ในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปีนั้น พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น (ประสูติ) เมื่อพระสิทธัตถโพธิสัตว์เกิดพระปัญญารู้ชัดในอริยสัจ ๔ (ตรัสรู้) ท� ำให้พระองค์หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง (นิพพาน) ระหว่างที่ทรงบ� ำเพ็ญเพียรทางจิตอย่างเข้มข้น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=