สำนักราชบัณฑิตยสภา

267 มงคล เดชนคริ นทร์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๕ หลังจากอภิเษกสมรสกับพระนางพิมพา แห่งกรุงเทวทหะเมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา แล้ว เจ้าชายสิทธัตถะมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง คือ พระกุมารราหุล ขณะที่พระองค์ทรงพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา ต่อมาพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็น เทวทูต ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ ที่เทวดาเนรมิตไว้ในระหว่างทางที่เสด็จประพาส จึงตัดสินพระทัยเสด็จออกบรรพชา เมื่อได้ศึกษาจนจบลัทธิในส� ำนักของอาฬาร- ดาบสและอุททกดาบส อีกทั้งได้บ� ำเพ็ญเพียร ทางกาย เป็นเวลารวมทั้งสิ้น ๖ ปี พระมหาบุรุษ สิทธัตถะได้ทรงเปลี่ยนไปบ� ำเพ็ญเพียรทางจิต ที่ใต้ร่มไม้อัสสัตถะริมแม่น�้ ำเนรัญชรา ต� ำบลอุรุเวลา เสนานิคม แคว้นมคธ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ในตอนนั้น พระยามารได้ยกพลเสนามารมาผจญ โดยได้แสดง ฤทธิ์หลายอย่างเพื่อข่มขู่ให้ตกพระทัยและล้มเลิก ความเพียร แต่พระมหาบุรุษทรงร� ำลึกถึงพระบารมี ๑๐ ที่ได้ทรงบ� ำเพ็ญมา ทรงตั้งมหาปฐพีเป็นพยาน และทรงใช้พระบารมี ๑๐ นั้นเข้าต่อสู้ จนพระยา มารและหมู่เสนามารพ่ายแพ้ไป ส่วนพระองค์เอง ได้ตรัสรู้พระโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ค� ำอธิบายตามแนวธรรมาธิษฐาน โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ สิ่งนามธรรมเช่นนี้เรียกว่า ธรรมาธิษฐาน ตัวอย่างของการแปลความพุทธประวัติตามแนวธรรมาธิษฐาน ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ พุทธประวัติเล่ม ๑ (วชิรญาณวโรรส ๒๕๕๔ : ๑๕-๔๖) มีดังนี้ เหตุการณ์ในต� ำนานพุทธประวัติ พระมหาบุรุษทรงพิจารณาเห็นมหาชนผู้เกิด มาแล้วแก่ เจ็บ ตายไปเสียเปล่า หาได้ท� ำชีวิตให้ มีประโยชน์เท่าไรไม่ ส� ำหรับพระองค์เองนั้น หาก ยังอยู่ในราชส� ำนัก ก็จะท� ำชีวิตให้เป็นหมัน ทรง ละอาย และเกรงกลัวบาป จึงตัดสินพระทัยเสด็จ ออกบรรพชาเพื่อบ� ำเพ็ญประโยชน์แก่มหาชน ท� ำ ชีวิตให้มีผลไม่เป็นหมัน ในระหว่ างที่พระมหาบุรุษทรงบ� ำเพ็ญ เพียรทางจิตอยู่นั้น กิเลสกามและกิเลสปลีกย่อย ต่าง ๆ ได้เกิดขึ้นวนเวียนอยู่ในจิตของพระองค์ ท� ำให้ทรงนึกถึงการเสวยสุขสมบัติในสมัยที่ยัง ทรงเพศฆราวาส แต่เมื่อทรงค� ำนึงถึงความดี ๑๐ ประการที่ได้ทรงกระท� ำคือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกบรรพชา) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน (ความตั้งใจมั่น) เมตตา อุเบกขา แล้ว ก็สามารถท� ำพระหฤทัยให้หนักแน่นดุจแผ่นดิน ทรงหักห้ามความคิดที่จะถอยกลับสู่กามคุณเสียได้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=