สำนักราชบัณฑิตยสภา

พุทธประวั ติ ในภาษาธรรม 266 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 เมื่อประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดาใน สวนลุมพินี ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ พระมหาสัตว์เสด็จออกขณะที่พระมารดาประทับ ยืน [ประสูติง่าย] ครั้นพระมหาสัตว์ประสูติแล้ว มีเทวบุตร มารับ มีท่อน�้ ำร้อนน�้ ำเย็นตกจากอากาศให้สนาน พระกาย พอประสูติแล้ว พระกุมารทรงพระด� ำเนิน ได้ ๗ ก้าว และตรัสอาสภิวาจาประกาศพระองค์ว่า เป็นเอกในโลก การแปลความพุทธประวัติตามแนวธรรมาธิษฐาน ในพุทธประวัติตามต� ำนานปรัมปรานั้น บางครั้งผู้แต่งเล่าถึงพระอินทร์ (ท้าวสักกะ) พระพรหม และเทวดาอื่น ๆ ที่มาเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า รวมทั้งมารที่มาผจญพระองค์ด้วย หากยึดแนวการแปล ความตามสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ อย่างที่น� ำเสนอในหัวข้อที่ผ่านมา เราอาจเทียบเคียงอมนุษย์เหล่านี้ กับคนที่มีตัวตนจริงในโลกมนุษย์ได้ คือ พระอินทร์หมายถึงหัวหน้าหรือผู้น� ำชุมชนท้องถิ่นหรือประเทศ พระพรหมหมายถึงพราหมณ์หรือนักบวชที่เป็นผู้น� ำทางศาสนา เทวดาหมายถึงบุคคลในราชสกุล ส่วนมาร หมายถึงศัตรู โจรผู้ร้าย หรือผู้ประกอบมิจฉาชีพ วิธีการแปลความโดยอิงอาศัยตัวตนบุคคลเช่นนี้ พุทธศาสนามีศัพท์วิชาการเรียกว่า บุคลาธิษฐาน ในอีกทางหนึ่ง เราอาจตีความว่า ตัวตนบุคคลเหล่านั้น หมายถึงลักษณะเฉพาะหรือความประพฤติปฏิบัติในเชิงนามธรรมของแต่ละอย่างก็ได้ กล่าวคือ พระอินทร์ หมายถึง วัตตบท ๗ อันเป็นจริยาวัตรของผู้น� ำที่ดี (เลี้ยงมารดาบิดาตลอดชีวิต; อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ตลอดชีวิต; พูดอ่อนหวานตลอดชีวิต; ไม่พูดส่อเสียดตลอดชีวิต; ยินดีในการเสียสละตลอดชีวิต; กล่าวค� ำสัตย์ ตลอดชีวิต; เป็นผู้ไม่โกรธตลอดชีวิต) พระพรหมหมายถึง พรหมวิหาร ๔ (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) เทวดาหมายถึง เทวธรรม ๒ (หิริ โอตตัปปะ) มารหมายถึงกิเลสในใจคน วิธีการแปลความโดยอิงอาศัย ค� ำอธิบายของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เหตุการณ์ในต� ำนานพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชาด้วย พระปรารถนาอันดี [เพื่อแสวงหาทางพ้นทุกข์] มิใช่ เพราะขัดข้องในการครองเรือน เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา มี นักบวชคนส� ำคัญ ๆ เช่น อาฬารดาบส อุททก ดาบส รับไว้เป็นศิษย์ในส� ำนัก พระองค์ทรงบ� ำเพ็ญ ทุกรกิริยาและบ� ำเพ็ญเพียรทางจิตอย่างเข้มข้น หลังจากตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าได้ทรง เผยแผ่พระศาสนาให้แพร่หลายในแคว้นต่าง ๆ ของประเทศอินเดียโบราณรวม ๗ แคว้น และตรัส พระธรรมเทศนาที่คนได้ฟังแล้วอาจหยั่งเห็นว่า พระองค์ทรงเป็นยอดแห่งนักปราชญ์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=