สำนักราชบัณฑิตยสภา

ผู้รจนา/นั กประพั นธ์/กวี ผู้สร้างวรรณกรรมทั กษิ ณ 22 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 ประทานแกงเผ็ดที่ไม่ใส่พริกย่อมไม่ได้รสชาติครบถ้วนตามที่ควรจะเป็น ทั้งนี้เพราะว่าการศึกษาเรื่องราว ของผู้แต่งช่วยให้ผู้ศึกษามีความรู้ความคิดกว้างขวางยิ่งขึ้น เฉพาะส่วนตัวของผู้แต่งเองนอกจากผู้อ่านได้ รู้ว่าเขาคือใคร มีความรู้สึกนึกคิดอย่างไรแล้วยังช่วยให้ทราบว่า อะไรคือสาเหตุให้เขาแต่งเรื่องนั้น และมี ความสัมพันธ์อยู่กับสิ่งใด อย่างไรอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ล้วนช่วยให้ผู้สนใจศึกษารู้จักวรรณกรรมและสังคมใน แง่มุมต่าง ๆ ลึกซึ้งยิ่งขึ้น การที่ภาคใต้เป็นแหล่งวัฒนธรรมที่ส� ำคัญมายาวนาน การสร้างสรรค์วรรณกรรมจึงมีมาอย่างต่อ เนื่อง หากพิจารณาหลักฐานวรรณกรรมรุ่นเก่าซึ่งบันทึกในหนังสือบุด (สมุดข่อย) และใบลาน วรรณกรรม ท้องถิ่นภาคใต้ปรากฏแน่ชัดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา การเก็บรวบรวมวรรณกรรมที่ศูนย์วัฒนธรรมต่าง ๆ ใน ภาคใต้ ๑ ตามวัดวาอาราม และที่บ้านของผู้ใฝ่รู้ซึ่งหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันอย่างมหาศาล ท� ำให้ภาคใต้เป็น ขุมทรัพย์หรือคลังทางปัญญาอันยิ่งใหญ่ จากการศึกษาวรรณกรรมภาคใต้จ� ำนวน ๔๓๕ เรื่อง พบว่าแบ่ง ออกได้เป็น ๑๕ กลุ่ม คือ วรรณกรรมจารึก ต� ำนานพงศาวดารและประวัติศาสตร์ บันทึกเหตุการณ์ส� ำคัญใน ท้องถิ่น ความเชื่อคตินิยม หลักศาสนาปรัชญา ชาดกและอิงชาดกและคติอื่น ๆ ทางพุทธศาสนา กฎหมาย และระบิลเมืองของภาคใต้ ประเพณีและพิธีกรรม ค� ำสั่งสอนและสุภาษิต ต� ำราและคัมภีร์การแพทย์ นิทาน ประโลมโลก นิราศ วรรณกรรมเฉพาะกิจ บุคคลและสถานที่และปกิณกะ วรรณกรรมดังกล่าว ส่วนหนึ่ง เป็นผลงานรุ่นเก่ายุคก่อนการพิมพ์แพร่หลาย อีกส่วนหนึ่งเป็นวรรณกรรมยุคเริ่มต้นการพิมพ์ ผู้รจนา/นักประพันธ์/กวียุคก่อนการพิมพ์ วรรณกรรมภาคใต้ยุคก่อนการพิมพ์ส่วนใหญ่บันทึกลงในหนังสือบุด (สมุดข่อย) และใบลาน โดย ที่ผู้แต่งหรือผู้รจนาเป็นผู้เขียนหรือให้ผู้อื่นเขียนแทน เมื่อใครต้องการอ่านก็หยิบยืมหรือไม่ก็ขอคัดลอก จากเจ้าของ วรรณกรรมยุคก่อนการพิมพ์แต่ละเรื่องจึงมีต้นฉบับหลงเหลือมากน้อยขึ้นอยู่กับความนิยมของ ผู้อ่าน และผู้สวดหนังสือหรือการน� ำเนื้อหาสาระของหนังสือไปใช้ประโยชน์ วรรณกรรมบางเรื่องซึ่งเป็นที่ นิยมและใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายทั่วไปในภาคใต้ พบต้นฉบับลายมือเขียนมากกว่า ๒๐ ฉบับก็มี เช่น พระนิพพานสูตร พระมาลัยค� ำกาพย์ สุบินค� ำกาพย์ พระปรมัตถธรรมค� ำกาพย์ เสือโค ก.กา และต� ำราต่าง ๆ ๑ สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, มหาวิทยาลัย ราชภัฏภูเก็ต และโรงเรียนสตรีพัทลุง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=