สำนักราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 2 April-June 2012 พุทธประวัติในภาษาธรรม บทคัดย่อ บทความนี้กล่าวถึงการแปลความพุทธประวัติตามแบบที่ไม่มีเรื่องอภินิหารโดย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส และการใช้หลักภาษาคน-ภาษาธรรมของ พุทธทาสภิกขุในการอธิบายหลักธรรมขั้นสูงของพระพุทธเจ้า ในตอนท้าย ผู้นิพนธ์ได้แปลความหมาย ในภาษาธรรมของพุทธประวัติในช่วงตั้งแต่พระสิทธัตถโพธิสัตว์ด� ำรงพระยศเป็นราชกุมารแล้ว สละราชสถานะออกแสวงหาโมกษธรรมจนถึงตอนตรัสรู้ และสรุปเป็นแนวทางในการปฏิบัติธรรม ส� ำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน ค� ำส� ำคัญ : พุทธประวัติ, บุคลาธิษฐาน, ธรรมาธิษฐาน, ภาษาคน-ภาษาธรรม บทน� ำ ในโอกาสที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา ได้ตรัสรู้ผ่านมา ๒,๖๐๐ ปี และสวนโมกขพลาราม อ� ำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นสถานที่ส� ำคัญแห่งหนึ่งในการ เผยแพร่พระพุทธศาสนา มีอายุได้ ๘๐ ปีในพุทธศักราชปัจจุบัน คือ พ.ศ. ๒๕๕๕ ผู้เขียนบทความนี้เห็น สมควรที่จะเฉลิมฉลองวาระส� ำคัญทั้งสองดังกล่าวเป็นพิเศษ ด้วยการทบทวนเรื่องราวในพุทธประวัติอีกครั้ง หนึ่ง ทั้งนี้โดยอาศัยการตีความตามแบบภาษาธรรมที่ท่านผู้ก่อตั้งสวนโมกขพลาราม คือ พุทธทาสภิกขุหรือ ท่านพุทธทาส ได้เสนอแนะไว้ ในตอนต้น ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงพุทธประวัติตามต� ำนานปรัมปราที่ชาวพุทธ ไทยเราคุ้นเคยกันมา พร้อมกับการแปลความพุทธประวัติตามแบบที่ไม่มีเรื่องอภินิหารโดยสมเด็จพระมหา สมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จากนั้นจะน� ำเสนอการแปลความบางส่วนบางตอนของพุทธประวัติ ตามแนวธรรมาธิษฐาน ต่อด้วยแนวคิดเกี่ยวกับภาษาคน-ภาษาธรรมของท่านพุทธทาส แล้วจึงสรุปในตอน ท้ายด้วยพุทธประวัติในภาษาธรรม พุทธประวัติแนวปรัมปราและการแปลความ พุทธประวัติที่ชาวพุทธไทยคุ้นเคยกันอยู่เป็นส่วนมากนั้นเป็นต� ำนานปรัมปรา คือ เป็นนิทานที่ กล่าวถึงเจ้าชายสิทธัตถะในฐานะของพระมหาสัตว์หรือพระมหาบุรุษที่มีอิทธิฤทธิ์และอภินิหารเหนือคน มงคล เดชนครินทร์ ราชบัณฑิต ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=